mobiledista.com

รีวิว Samsung Galaxy E7

ในบทความก่อนหน้านี้ทีมงานได้รีวิว Galaxy E5 ให้ชมกัน คราวนี้ถึงทีของรุ่นนี้อย่าง Galaxy E7 แล้ว อย่างที่ทราบกันว่าทั้งคู่เป็นมือถือที่เน้นจุดเด่นเรื่องกล้องหน้า ความแตกต่างนอกจากเรื่องขนาดหน้าจอที่ใหญ่กว่า 0.5 นิ้วแล้ว Galaxy E7 รุ่นที่วางขายในไทยจะรองรับแค่ 1 ซิม ส่วนรุ่น 2 ซิมจะไม่มีวางขายในไทย (หรืออาจจะมีในอนาคต)

ซัมซุงได้ประกาศราคาขายของ Galaxy E7 ในบ้านเราอยู่ที่ 11,500 บาท โดยเริ่มวางขายตั้งแต่ช่วงงาน Thailand Mobile Expo 2015  ในวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ด้วยราคาที่เปิดตัวหมื่นต้นๆ ทำให้กระแสตอบรับจะไม่ดีเท่ารุ่นน้อง แต่ความสามารถโดยรวมแทบไม่ต่างกัน จึงไม่แปลกที่คนจะเลือก Galaxy E5 แทนที่จะหันมอง Galaxy E7

สเปก Samsung Galaxy E7 

รายละเอียดสเปก Galaxy E7

[section label=”Design”]

สำรวจตัวเครื่อง

Galaxy E7 มาพร้อมกับหน้าจอ Super AMOLED ขนาด 5.5 นิ้ว ใหญ่กว่่ารุ่นน้องนิดหน่อย โดยที่ความละเอียดของหน้าจออยู่ที่ HP 720p (720 x 1280) ระบบสัมผัสแบบ Capacitive Touchscreen แสดงผลได้ 16,700,000 สี

ตัวหน้าจอ Super AMOLED มีจุดเด่นเรื่องสีสันที่สดใจ อีกทั้งรุ่นหลังยังพัฒนามาให้ประหยัดพลังงานขึ้นอีกด้วย ในรุ่นนี้ยังเพิ่มฟีเจอร์สำหรับใช้งานกลางแจ้งมาให้ ทำให้สามารถมองหน้าจอคมชัด แม้จะอยู่ในที่กลางแจ้ง

เรื่องสีสันของภาพ แน่นอนว่าจอแบบ Super AMOLED ให้สีสันที่สดกว่าหน้าจอชนิดอื่น ซึ่งก็เป้นทั้งข้อดีและข้อเสีย บางคนก็ชอบสีสัน บางคนชอบสีธรรมชาติ จากการใช้งานพบว่า Galaxy E7 ใช้งานมือถือลำบากกว่า เมื่อเทียบกับ Galaxy E5 เรื่องคุณภาพจอไม่แตกต่างกัน ได้จอใหญ่กว่า พื้นที่ในการแสดงผลมากกว่า แต่ก็แลกมากับเรื่องของการถือใช้งานมือถือรวมถึงการพกพาจะไม่สะดวกเท่ารุ่นน้อง

อย่างที่บอกว่าตระกูล Galaxy E จะเน้นเรื่องเซลฟี่เป็นพิเศษ จึงให้กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านมาให้ มีฟังก์ชั่นสั่งงานด้วยเสียง หรือเซลฟี่ด้วยฝ่ามือ (Palm selfie) นอกจากนั้นยังมีโหมด Wide Selfie ช่วยให้เก็บภาพมุมกว้างจากกล้องหน้า หรือใช้โหมดบิวตี้ปรับภาพใบหน้าของเราให้ตาโต หน้าเรียว และผิวเนียนขึ้นได้ด้วย

ถ้าใครงงว่า Palm selfie คืออะไรทำงานยังไง ลองดูภาพด้านล่างน่าจะช่วยให้เห้นภาพชัดขึ้นครับ ขอบคุณภาพจากเพจ คนอะไรเป็นแฟนหมีมา ณ ที่นี้

ด้านล่างของหน้าจอมาพร้อมกับปุ่มมาตรฐานตามแบบฉบับของซัมซุง 3 ปุ่ม มีไฟส่องสว่าง สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ปิดหลังจากที่กดกี่นาที หรือให้เปิดไว้ตลอดก็ได้

ด้านล่างตัวเครื่องมีช่องต่อ micro USB และช่องต่อหูฟังขนาด 3.5 มม. รูไมโครโฟนสำหรับสนทนา

ด้านบนตัวเครื่องมีไมโครโฟนตัวที่สองสำหรับตัดเสียงรบกวน

ปุ่มเพิ่มลดเสียง ขอบด้านข้างของเครื่องจะขึ้นลายและลงสีให้ดูคล้ายโลหะ ตัวเครื่องมีความบางแค่ 7.3 มิลลิเมตร เท่ากับ E5 น้ำหนัก 141 กรัม (หนักกว่า E5) 

ปุ่มปิดและเปิดเครื่อง ขอบด้านข้างของตัวเครื่องเป็น Polycarbonate Unibody ขึ้นลายให้ดูเหมือนโลหะ ใช้พลาติกชิ้นเดียวทำให้ดูทนทานขึ้น สำหรับ Galaxy E7 จะมีทั้งรุ่นที่รองรับ 1 ซิม และ 2 ซิม โดยรุ่นที่วางขายในไทยจะรองรับแค่ 1 ซิมเท่านั้น และรองรับซิมแบบ nanoSIM อีกช่องใช้สำหรับ microSD เพื่อเพิ่มหน่วยความจำ

ดูภายนอก Galaxy E Series งานดีไซน์อาจจะไม่แตกต่างจากรุ่นก่อนๆ มากนัก แต่ในเรื่องงานประกอบและวัสดุดีขึ้นจจากเดิมพอสมควร วัสดุให้ความรู้สึกดีกว่าแต่ก่อนเยอะ แม้เป็นตัวเครื่องจะเป็นพลาสติกกลับดูรู้สึกว่าดีกว่าตัวเดิมๆ

เนื่องจากรุ่นที่ทีมงานได้มารีวิวเป็นเครื่องทดสอบครับ จะมีโลโก้ Duos อยู่ฝาหลังของตัวเครื่อง หากเป็นเครื่องขายจริง จะไม่มีโลโก้นี้ครับ

สำหรับ Galaxy E7 จะไม่สามารถแกะฝาหลังได้แล้วนะครับ ตัวเครื่องหลังรุ่นนี้ให้มา 8 ล้านพิกเซล ตัวกล้องนูนออกมาเล็กน้อย ฉะนั้นแนะนำให้ใส่เคสดีกว่า เลนส์ก้อลงจะได้ไม่เป็นรอย ด้านซ้ายเป็นไฟแฟลช ด้านขาวเป็นลำโพงของตัวเครื่อง

หน้าตาแอพพลิเคชั่นถ่ายรูปของ Galaxy E7 เหมือนกับแอพใน Galaxy หลายๆ รุ่น เพียงแต่ในเวอร์ชั่นหลังๆ ไม่ได้อัดฟีเจอร์มาเยอะเกินความจำเป็น ฟีเจอร์ไม่ได้ถูกตัดออก แค่ไม่ติดตั้งมาพร้อมกับตัวเครื่อง หากใครต้องการใช้ฟีเจอร์ไหนสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ครับ

[section label=”Software”]

ซอฟท์แวร์

สำหรับ Galaxy E7 จะมาพร้อมกับปฏิบัติการ Android 4.4.4 KitKat พร้อมอินเทอร์เฟซ TouchWiz เหมือนกับ E5 อนาคตจะได้อัพเกรดเป็น Android 5.x Lollipop หรือเปล่า ตรงนี้ผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่รุ่นหมื่นต้นๆ ลงมายากมากที่จะได้อัพเกรดเป็น Android เวอร์ชั่นใหม่ เว้นแต่รุ่นนั้นขายดีจริงๆ แต่คงมีอัพเดทแก้ข้อผิดพลาดให้อยู่เรื่อยๆ ครับ ถ้าโชคดีอาจจะได้อัพเกรด แต่ไม่อยากให้หวังครับ

อินเตอร์เฟส TouchWiz เวอร์ชั่นใหม่ๆ ถูกออกแบบใหม่ เพิ่มสันสีให้น่าใช้งานขึ้น ยกตัวอย่างเมนูตั้งค่า ก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงผลแบบไหน โดยแบ่งหมวดหมู่ตามประเภทที่ชัดเจนขึ้น ทำให้ง่ายต่อการตั้งค่า

การใช้งานก็ไม่กระตุกแล้ว ไม่ใส่ฟังก์ชั่นมาเยอะเกินความจำเป็นแล้ว แอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งมกับเครื่องมีแค่ไม่กี่ตัว ถ้าอยากได้ติดตั้งผ่าน Samsung Apps ได้เลย ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีครับ ยังมีจุดให้ตินิดหน่อย เช่นไม่มีฟังก์ชั่นปรับความสว่างหน้าจอแบบอัตโนมัติ

หน้า quick setting ยังรกเหมือนเดิม (นี่ลดลงแล้วนะ)

[section label=”Benchmark”]

ทดสอบประสิทธิภาพกับรุ่นอื่น

AnTuTu Benchmark

 

[pmzez_chart id=”pce_Core1″ type=”bar” url=”http://mobiledista.com/media/2015/03/G1.csv”] 

Quadrant Standard Edition

 

[pmzez_chart id=”pce_Core2″ type=”bar” url=”http://mobiledista.com/media/2015/03/G2.csv”]

Vellamo Mobile Benchmark : Browser

 

[pmzez_chart id=”pce_Core3″ type=”bar” url=”http://mobiledista.com/media/2015/03/G3.csv”]

[section label=”Camera”]

กล้อง

[section label=”Galley”]

แกลอรี่

Exit mobile version