Lazada

PRADA phone 3.0 by LG

ในที่สุดก็มาถึงรุ่นที่ 3 แล้ว สำหรับ PRADA phone 3.0 by LG ดีไซน์เรียบหรูที่แบรนด์ดังอย่าง PRADA ออกแบบตัวเครื่องเองทั้งหมด สำหรับใครที่รัก Smartphone ที่เน้นดีไซน์มากกว่าเน้น Specs แบบแรงจัดๆ ล่ะก็ PRADA phone 3.0 by LG นี่แหละครับตัวเลือกระดับแรกๆ ที่ควรไปดูเอาไว้ก่อนเลย

*รุ่นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า PRADA phone 3.0 by LG (หรือ PRADA phone by LG 3.0) โดยอ้างอิงชื่อจาก Press Release ของแอลจี ในบทความนี้จะขอเรียกสั้นๆ ว่า LG PRADA 3.0 และ PRADA 3.0

PRADA phone นั้นเดิมทีแล้วได้เคยร่วมกับ LG พัฒนาโทรศัพท์ออกมาวางขายแล้ว 2 รุ่นด้วยกัน แต่นี่ก็เป็นครั้งแรกเลยที่ PRADA Phone ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบปฏิบัติการ Android จริงๆ จังๆ ตาม Smartphone ตัวอื่นๆ ของ LG ที่ได้เดินหน้าลุยในเส้นทางแห่ง Android ไปก่อนหน้านี้แล้ว

สำหรับคนที่ชอบแบรนด์เนมอย่าง PRADA อยู่แล้ว ผมว่าลองจัดมาใช้คู่กับสินค้าเครื่องใช้ที่ใช้อยู่ดูก็ดีครับ มันดูเข้ากันแบบสุดๆ เลยล่ะ ลองคิดดูกระเป๋าลาย PRADA คู่กับ Smartphone ลาย PRADA (PRADA phone 3.0 by LG) ที่มี Logo แสดงชื่อแบรนด์ตั้งตระหง่านอยู่ ดูแล้วเป็นอีกสไตล์นึงเลยที่น่าสนใจ

 

เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าหลังจากที่ผมได้ลองเล่น LG PRADA 3.0 ตัวนี้แล้ว ผมได้เห็นอะไรในตัวมันบ้าง

[accordion title=”แกะกล่อง LG PRADA 3.0″]

แค่ได้เห็นกล่องแว้บแรก ก็รู้สึกได้แล้วครับ ว่ามันถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ไม่เหมือนใครเลย ดูแล้วน่าใช้ดีจริงๆ แค่ตัวกล่องก็มีลายของ PRADA 3.0 พิมพ์ไว้แล้ว รู้สึกถึงความเป็น PRADA 3.0 แล้วล่ะครับ

แง้มกล่องออกมานิดๆ ให้เห็นตัวเครื่องที่นอนหลับอยู่ข้างใน

เวลาจะหยิบตัวเครื่องออกมา ก็ไม่ต้องใช้มือแงะออกมาให้กล่องเสียรูปทรงหรอกครับ เพราะว่าที่ด้านใต้ตัวเครื่องมีเชือกเส้นหนึ่งคั่นไว้อยู่ด้วย ทำให้เวลาเราต้องการเอาเครื่องออกมา แคะกระตุกเชือเส้นนี้ออก เราก็สามารถหยิบเครื่องนี้ออกมาได้ง่ายๆ แล้ว

และนี่ก็คืออุปกรณ์ที่ให้มาในตัวกล่องครับ สังเกตดูดีๆ อุกรณ์ทุกชิ้นจะมี Logo ของ PRADA 3.0 พิมพ์ติดไว้ทั้งหมดเลย

 

[/accordion][accordion title=”สำรวจเครื่อง LG PRADA 3.0″]

หลังจากที่ผมได้แกะกล่องให้เพื่อนๆ ดูกันไปแล้ว เราก็มาดูกันต่อครับ ว่า Smartphone ที่ว่าเน้นไปที่เรื่องของดีไซน์ตัวนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง เรามาสำรวจรอบๆ เครื่องด้วยกันเลยดีกว่า

เริ่มที่ด้านหน้าของตัวเครื่องครับ แน่นอนว่า LG PRADA 3.0 นี้เป็นเครื่องที่ PRADA 3.0 ออกแบบมาเองโดยตรง และร่วมมือกับ LG ในการผลิตเครื่องออกมา Logo ที่แสดงอยู่บริเวณหน้าเครื่องต้องเป็นของ PRADA 3.0 อยู่แล้ว เพื่อบ่งบอกถึงความเป็น PRADA 3.0 นั่นเอง

เครื่องนี้จะมีลำโพงสำหรับฟังเสียงโทรศัพท์บอยู่บริเวณขอบเครื่องด้านบนครับ ส่วนตัวกล้องหน้าจะอยู่บริเวณด้านซ้ายของ Logo ความละเอียดก็ 1.3 MPixel ครับ

ปุ่มบนหน้าเครื่องจะเป็นปุ่มแบบสัมผัส มีอยู่ 4 ปุ่มด้วยกัน คือปุ่ม Back, Home, Menu และปุ่ม Search ปุ่มนี้เวลาที่ไม่มีการใช้งาน ไฟ LED ก็จะดับไป

สังเกตขอบของตัวเครื่องจะเป็นสีเงินตัดกับสีดำบนหน้าเครื่องอย่างเห็นได้ชัด ด้านหน้าเครื่องจะดูเงาๆ ไปทั้งหมด ตอนจับเครื่องเลยเป็นลายนิ้วมือด้วยหน่อย ต้องหมั่นเช็ดกันนิดนึง

 

ที่ผมติดใจที่สุดเห็นจะเป็นวิธีการทำช่องเสียบสวย USB นี่แหละครับ ที่ใช้ฝาแบบ Slide ในการช่วยซ่อนช่องตัวนี้ได้ด้วย ปกติ Smartphone ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยซ่อนช่องนี้กัน อย่าง Sony Ericsson ที่ถึงแม้จะซ่อน แต่ก็ใช้ที่ปิดเป็นแบบฝาปิด ตอนแกะออกเสียบสายชาร์ต ฝามันก็จะห้อยอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ ดูขัดๆ ตานิดนึง แต่ข้อเสียของฝาปิดแบบสไลด์ของ LG PRADA 3.0 นี้ก็คือ รูของช่อง USB อยู่ลึกมากครับ ทำให้ผมไม่สามารถใช้สาย Micro USB ที่มีหัวเสียบโตๆ เสียบเข้าไปในช่องนี้ได้เลย ถ้าเกิดใครทำสายหาย ต้องซื้อสายใหม่ก็ต้องระวังนิดนึงเรื่องขนาดหัวของสายด้วย

 

ปุ่มอื่นๆ บนเครื่องนี้ก็มี จากรูปซ้ายสุดเป็นปุ่ม Power ปุ่มด้านขวาของช่องเสียบสาย Micro USB เป็นปุ่ม Shutter ที่แปลกหน่อย PRADA 3.0 ออกแบบให้มันมาอยู่ตรงนี้ ส่วนช่องขวาสุดเป็นช่องสำหรับเสียบหูฟัง

 

พลิกมาข้างซ้าย จะเห็นปุ่มปรับระดับเสียงอยู่ ส่วนด้านขวาไม่มีอะไร

ด้านล่างก็มีช่องไมโครโฟนอยู่นั่นเอง

 

พลิกมาดูด้านหลังเครื่อง จะเห็นกล้องความละเอียด 8 MPixel อยู่ทางด้านซ้ายของตัวเครื่องครับ แน่นอนว่ามี LED Flash ให้ด้วย ส่วนตรงกลางเครื่องก็มี Logo ของ PRADA 3.0 สถิตย์อยู่เด่นสุดๆ เลย แต่อาจจะดูเล็กไปนิด ถ้าหากเอา Smartphone เครื่องนี้ไปวางเทียบกับกระเป๋า PRADA 3.0 ใบอื่นๆ (ผมลองวางดู กระเป๋าดันเด่นกว่าเยอะซะงั้น)

แล้ว Logo ของ LG อยู่ที่ไหน??​ คำตอบก็คือ มันอยู่ข้างล่างของเครื่องนี่เอง เครื่อง LG PRADA 3.0 นี้ Logo ของ LG ดูไม่เด่นเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังมีลำโพงอยู่ทางด้านซ้ายอีกตัวหนึ่ง ให้เราใช้เปิดเพลงออกลำโพงไว้ฟังกันนั่นเอง


ซูมฝาด้านหลังเข้าไปใกล้ๆ นี่แหละจุดเด่นของ LG PRADA 3.0 เค้าล่ะ!! สังเกตดูดีๆ ครับ ถึงแม้ว่าฝาหลังจะยังเป็นพลาสติก แต่ลวดลายบนฝาหลังนี่แหละ สไตล์ PRADA 3.0 ของแท้ สังเกตได้จากความละเอียดของลวดลาย หากว่าเป็นฝาของ  Android บางรุ่นทั่วไป เค้าใช้วิธีปั้มลายเอา ความละเอียดของลายอาจไม่ได้ขนาดนี้ แต่ LG PRADA 3.0 ตัวนี้ ทาง PRADA 3.0 เค้าใช้วิธียิงเลเซอร์ให้ออกมาเป็นลายเอาครับ ลวดลายที่ออกมาจึงได้รูป ลึก และละเอียดอย่างที่เราเห็นกันเลย เมื่อลองได้จับที่ฝาหลังดูรู้สึกว่าติดมือ ไม่ลื่น เหมือนได้จับกระเป๋า PRADA 3.0 จริงๆ ครับ แต่ถ้าหากเปลี่ยนได้ล่ะก็ ผมขอเชียร์ให้รุ่นหน้าของ PRADA 3.0 ทำฝาหลังเป็นหนังเหมือนกระเป๋าได้เลยยิ่งดีครับ เพิ่มราคาอีกซักหมื่นหนึ่งก็ได้ไม่ว่าอะไร แล้วโทรศัพท์รุ่นนี้จะได้ดูมีสไตล์ขึ้นไปอีกเยอะเลยทีเดียว

แกะเครื่องดูไส้ในกันซักนิด สังเกตดูแบตเตอรี่ของเครื่องนี้จะอยู่ที่ 1,540 mAh ครับ ช่องเสียบซิมจะมีแบตเตอรี่ขวางทางอยู่ เวลาจะถอดซิมออกต้องแกะแบตเตอรี่ออกด้วย

ซิมที่ใช้เป็น Sim ขนาดปกติ และมีช่อง Micro SD Card สำหรับใส่ Card เพิ่มความจุให้ตัวเครื่องได้

 

[/accordion][accordion title=”ลองใช้งาน LG PRADA 3.0″]

หลังจากที่สำรวจรอบๆ เครื่องแล้ว เราก็มาลองใช้งานกันต่อเลยดีกว่า

 

หน้าตาตัว UI พื้นฐานของตัวเครื่อง LG PRADA 3.0 ดูแว้บแรกเห็นเลยว่าทำออกมาได้ไม่เหมือนใครเลยทีเดียว โทนสีของ UI ที่ใช้เป็นสีดำ สลับการสีขาว เป็นโทนสีพื้นๆ ก็จริง แต่ดูแล้วมีสไตล์มากเลย

 

 

ตัวกราฟฟิกของ Icon ทั้งหมดจะถูกทำเป็นแบบลายเส้นทั้งหมด  ทำให้ไม่ดูรกตา เพราะสีที่ฉูดฉาด ขางล่างนี้เป็นหน้า Contact ครับ หน้านี้ก็มีการทำ Index ของตัวอักษรต่างๆ ให้ด้วย เช่นเดียวกับ Android รุ่นใหม่ตัวอื่นๆ

นี่เป็นหน้าสำหรับโทรศัพท์ และหน้า Log ครับ

อย่างที่ผมบอกครับ Icon หลักๆ จะเป็นรูปเส้นสีขาวๆ หมดแล้วแบบนี้ Icon ของ App ที่โหลดมาจะถูกเปลี่ยนไปใช้รูปแบบเดียวกันด้วยมั้ย?​ คำตอบคือไม่ครับ แต่เพื่อความสวยงาม App เหล่านั้นจะถูกจับลงไปกองไว้ใน Group Download ด้านล่างนั่นเอง

แต่เราสามารถจัดหรือสร้าง Group ใหม่ตามการใช้งานของเราได้ว่าจะให้ App ตัวไหนไปอยู่ใน Group ไหน และสามารถจัดเรียงลำดับของ Group ได้ ว่าจะให้ Group ไหนขึ้นก่อน

 

หรือถ้าไม่อยากจัด App แบบ Group เราก็สามารถจัดเรียง App ตามตัวอักษรก็ได้

ตัว Task Manager ของ LG PRADA 3.0 มีคำสั่งปิด Process ทั้งหมด ให้ด้วย เอาไว้ใช้เวลาเครื่องโหลดหนักๆ ก็ปิด Process ทิ้งหมดเลยทันที

[/accordion]

[accordion title=”ทดสอบ App ของ LG PRADA 3.0″]

จุดเด่นของ Android แต่ละรุ่นอยู่ที่ App ที่แถมมาให้กับเครื่อง พร้อมสำหรับการใช้งานนี่แหละ เรามาลองดูกันต่อครับ ว่า Smartphone สุดหรูตัวนี้ มี App ดีๆ ตัวไหนมาให้เราใช้กันบ้าง

App ที่ LG ให้มา มี  App ตัวหนึ่ง ชื่อ BackUp & Restore เป็น App สำหรับไว้ใช้เวลาที่เราต้องการล้างเครื่อง เราก็สามารถใช้ App ตัวนี้ในการสำรองข้อมูลของเราลงใน SD Card ได้ทั้งหมดนั่นเอง และยังสามารถ Restore ได้ทันทีที่ทำการ Factory Reset เสร็จเรียบร้อย สิ่งที่ Back Up ได้ก็มีทั้ง Applications Data, Bookmarks, Calendar, Call Log, Contacts, Messages และ System Settings เมื่อสามารถ Back Up ได้ถึงระดับนี้แล้ว ก็แทบไม่จำเป็นต้องซื้อ App ไหนมาช่วยอีกแล้วล่ะครับ

RichNote เป็น App สำหรับจดบันทึกที่ LG มีมาให้ การใช้งานก็เหมือน App จดบันทึกทั่วไป แต่ต่างนิดหน่อย ที่เราสามารถแนบไฟล์ และแชร์ขึ้น Social Network ต่างๆ ได้

 

App Clock ของ LG PRADA 3.0 ครับ เราสามารถตั้งปลุก จับเวลา หรือดูนาฬิกาของโลกได้ตามปกติ

เมื่อปรับเข้าสู้่โหมดนาฬิกาตั้งโต๊ะ ก็จะมีหน้าตาแบบนี้

ระบบ Yahoo Finance สำหรับเช็คราคาตลาดหุ้น

ระบบ Gallery ของ LG PRADA 3.0 เป็นตามแบบ Android พื้นฐาน ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากครับ

ระบบ Music สำหรับฟังเพลงของ LG PRADA 3.0 ก็มี Index สำหรับใช้ค้นหาเพลงให้ด้วยเช่นกัน

บริการ Remote Call อันนี้ผมยังไม่ได้ลองครับ แต่เมื่อลองอ่านรายละอียดดูแล้ว มันบอกว่าเป็นบริการช่วยแก้ปัญหาให้ผ่านทางการ Remote ของ LG โดยเราต้องทำการเปิดการใช้งานบริการนี้ผ่านทาง Call Center ของ LG ก่อน จากนั้น LG ก็จะเข้ามาเชื่อมต่อกับเครื่องของเรา และควบคุมเครื่องผ่านการ Remote ดูๆ แล้วเป็นบริการที่ดีเลยครับ น่าสนับสนุนเอามากๆ แต่ผมยังไม่ได้ลองนี่สิ ว่ามันใช้ได้รึยัง

[/accordion]

[accordion title=”ระบบ NFC พร้อมใช้งาน”]

LG PRADA 3.0 เป็น Smartphone อีกหนึ่งตัวที่มี NFC มาให้พร้อมสำหรับการใช้งานแล้วครับ แต่ในไทยเรานั้น อาจจะยังใช้ได้แค่ระบบส่งข้อมูลข้ามระหว่างเครื่องที่มี NFC ด้วยกันเท่านั้นอยู่ ที่เห็นชัดๆ เลยตอนนี้ก็มี ส่ง Contact, URL, Memo, Call, Text Message และก็ Schedule เท่านั้นเอง

 

[/accordion]

[accordion title=”ส่งข้อมูลผ่านระบบ Smart Share”]

 

LG PRADA 3.0 สามารถส่งข้อมูล Streaming หรือว่าส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ต่างๆ ผ่านระบบ SmartShare ทาง Wireless ได้ครับ ความเร็วของมันก็ตามความเร็วของ Wifi ของเราเลย

[/accordion]

[accordion title=”เปิดโลก LG Smart World”]

LG มีบริการตัวหนึ่งที่ชื่อ LG Smart World ครับ ซึ่งเป็นบริการสำหรับแนะนำ App เด่นๆ ดังๆ ที่ LG เลือกมาให้เราลองใช้กัน

 

นอกจาก App แล้วก็มี Theme, Wall Paper หรือว่าเพลงรอสายมาให้เราเลือกโหลดกันด้วย

 

[/accordion]

[accordion title=”ทดสอบถ่ายรูปด้วยกล้อง LG PRADA 3.0″]

การถ่ายรูปด้วยกล้องของ LG PRADA 3.0 ถึงแม้ความละเอียดของกล้องจะอยู่ที่ 8 MPixel แต่ว่าสปีดชัตเตอร์ยังถือว่าช้าครับ หากเทียบกับ Android รุ่นใหม่ๆ ดังนั้นถ้าหากต้องถ่ายรูปที่มีการเคลื่อนไหวอาจจะต้องทำใจนิดนึงเรื่องรูปอาจจะเบลอ แต่โดยรวมแล้วถือว่ารูปที่ถ่ายออกมาค่อนข้างละเอียดดีครับ

รูปถ่ายในตึก แสงปกติ

 

 

รูปถ่ายกลางคืน ไม่ได้เปิด Flash

 

รูปถ่ายกลางคืน เปิด Flash

 

นอกจากเรื่องของการถ่ายรูปแล้ว LG PRADA 3.0 ยังสามารถปรับแต่งรูปได้ในตัวด้วยครับ เช่นการหมุนรูป Crop รูป ปรับขนาดรูป

ใส่ Effect ให้รูป

 

หรือการปรับค่ารูปแบบอื่นๆ

 

ใส่กรอบให้รูปก็ได้

เอารูปอื่นมาตกแต่งในรูปถ่ายของเราก็ได้

 

[/accordion]

[accordion title=”ทดสอบถ่ายวีดีโอด้วยกล้อง LG PRADA 3.0″]

ผมได้ลองทดสอบถ่ายวีดีโอด้วยกล้องของ LG PRADA 3.0 ดู กล้องของ LG PRADA 3.0 นั้นสามารถถ่ายวีดีโอได้ที่ความละเอียด 1080p HD และจำนวน frame ต่อวินาที 30 fps ถือว่าวีดีโอค่อนข้างละเอียด และสามารถปรับ Focus ตามได้เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ที่ว่าใช้งานค่อนข้าง OK เลยครับ

ถ่ายวีดีโอตอนกลางวัน

 

ถ่ายวีดีโอตอนกลางคืน

[/accordion]

[accordion title=”จุดเด่น/จุดด้อยของ LG PRADA 3.0″]

จุดเด่น

1. ดีไซน์ของมันถูกออกแบบโดย PRADA 3.0 เอง จึงไม่ต้องไปห่วงว่าจะไปเลียนแบบใคร

2. ฝาหลังเป็นพลาสติกที่มีลวดลายตามแบบของ PRADA 3.0 เป๊ะ

3. โทนเครื่องทั้งหมดเป็นสีดำ แม้แต่ UI ยังเป็นสีดำ และมีเส้นเป็นสีขาว ลวดลายดูดีมีสไตล์

4. ตัวเครื่อง อุปกรณ์ และของแถมทั้งหมดล้วนตีตรา PRADA 3.0 ทั้งหมด เข้าคู่กับเครื่องใช้ PRADA 3.0 ชิ้นอื่นๆ สุดๆ

5. ตัว UI การใช้งานค่อนข้าง Smooth มาก

6. มีบริการเสริมของ LG ให้หลายอย่าง ทั้ง Back Up & Restore, LG Smart World, LG Smart Share

7. ตัวกล้องสามารถแต่งรูปได้ในตัว

 

จุดด้อย

1. ตัวกล้องถ่ายรูปค่อนข้างช้า

2. ปุ่มชัตเตอร์ไปอยู่ด้านบนเครื่อง อาจจะไม่คุ้นเคยนิดนึง

 

[/accordion]

[accordion title=”Specifications”]

รหัสเครื่อง:   LG P940, LG Prada K2

ขนาดเครื่อง: 127.5 x 69 x 8.5 มม.

น้ำหนัก: 138 กรัม

CPU: Dual core, 1000 MHz, TI OMAP 4430

GPU: PowerVR SGX540

เมมโมรี่: Ram 1 GB, Flash Memory 8 GB

หน้าจอ: IPS LCD capacitive touchscreen 4.3 นิ้ว ความละเอียด 480 x 800 pixels

กล้อง: ด้านหลัง 8 MPixels, 3264×2448 pixels, พร้อม autofocus, และ LED flash  ด้านหนัา 1.3 MPixels

Connectivity: รองรับ 3G 900/2100 MHz , Bluetooth 3.0 , Wifi 802.11 b, g, n, a, NFC, DLNA, MHL, Computer sync, OTA sync

แบตเตอรี่: 1,540 mAh

ระบบปฏิบัติการ: Android 2.3 Gingerbread (รองรับ Android 4.0 Ice Cream Sandwich ในอนาคต)

 

[/accordion]

[accordion title=”Gallery”]

[/accordion]

ขอขอบคุณ

LG ประเทศไทย ที่เอื้อเฟื้อเครื่องในการทดสอบ