[PR] อุปกรณ์พกพารุ่นล่าสุดจากอินเทล

intel-logo

อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึงแผนการนำเสนอเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยได้กล่าวกับนักพัฒนาระบบและผู้นำในอุตสาหกรรมไอทีกว่าพันคนที่เข้าร่วมงานไอดีเอฟครั้งนี้ว่า เทคโนโลยี อินเทลจะช่วยทลายข้อจำกัดที่เกิดจากความสลับซับซ้อน และเปิดโอกาสให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ และทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น

ดั๊ก ฟิชเชอร์ รองประธานองค์กรและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มซอฟต์แวร์และการบริการ เฮอร์แมน อูล รองประธานองค์กรและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มโมบายล์และการสื่อสาร และ เคิร์ก สกาวเกน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มลูกค้าพีซี กล่าวในงานถึงการเปิดตัวเทคโนโลยีเอสโอซี มัลติคอร์ รุ่นใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตร สำหรับแท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน อุปกรณ์ออลอินวัน เด้กส์ท้อปและอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการเปิดตัวโครมบุ๊กรุ่นล่าสุดที่ใช้สถาปัตยกรรมแฮสเวลล์ และการวางจำหน่าย อินเทล คอร์™  วีโปร โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 สำหรับการใช้งานในเชิงธุรกิจ

นอกจากนั้นภายในงานยังมีการประกาศถึงความสามารถใหม่ๆที่ได้เพิ่มขึ้นมาในแพลตฟอร์มการให้บริการด้านคลาวด์จากอินเทล ที่ตอบรับความต้องการของนักพัฒนาระบบให้การให้บริการแก่องค์กรขนาดใหญ่และตลาดผู้ให้บริการที่เติบโตขึ้น และการเผยโฉมของซอฟต์แวร์ใหม่มากมายที่รองรับการทำงานในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย แอนดรอยด์* โครม* และวินโดวส์*

ฟิชเชอร์ กล่าวว่า “อินเทลมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ไอที เมื่ออุปกรณ์พกพาเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันมากขึ้น เราจึงมีการนำเสนอบริการใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงประสบการณ์การใช้งานและดีไซน์ที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของคนทั่วไป ผู้จัดการด้านไอที หรือนักธุรกิจ  ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่เราวางไว้จะช่วยเสริมให้การออกแบบสถาปัตยกรรมของอินเทล สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ไอทีทุกชนิด ในหลากหลายระบบปฏิบัติการและอยู่ในระดับราคาต่างๆ”

ดั๊ก ฟิชเชอร์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มซอฟต์แวร์และการบริการ

            ฟิชเชอร์ กล่าวกับนักพัฒนาที่เข้าร่วมงานถึงโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจที่มาจากความต้องการใช้งานของอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่ต้องการความต่อเนื่องและคงที่ และยังได้ประกาศว่านักพัฒนาระบบจะสามารถเข้าถึงการใช้งานแบบข้ามระบบปฏิบัติการโดยผ่านเทคโนโลยีอย่างซอฟต์แวร์ทูลส์ รวมถึงเทคโนโลยีและไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากอินเทล

ฟิชเชอร์ ยกตัวอย่างว่า ซอฟต์แวร์ทูล อินเทล เอ็กซ์ดีเค นิว  (Intel XDK NEW) ที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ประกอบแวดล้อมที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอพลิเคชั่น เอชทีเอ็มแอล5 (HTML5) ที่สามารถเขียนขึ้นได้และรองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

นอกจากนี้ ฟิชเชอร์ ยังได้แนะนำผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่างโครมบุ๊ก ที่ใช้โปรเซสเซอร์ซึ่งพัฒนามาจาก สถาปัตยกรรมแฮสเวลล์จากผู้ผลิตต่างๆ นำโดย เอชพี* ตามด้วย เอเซอร์* เอซุส* และโตชิบา* โครมบุ๊ก เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการวางกลยุทธ์เฉพาะด้านสำหรับซอฟต์แวร์ของอินเทล เพื่อรองรับการทำงานในลักษณะที่หลากหลาย เพื่อการทำงานที่เหนือชั้นเมื่อใช้ร่วมกับสถาปัตยกรรมอินเทล ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกมากขึ้น

ในงานนี้อินเทลยังได้เชิญ ซันดาร์ พิชัย รองประธานอาวุโสจากกูเกิ้ล เพื่อขึ้นกล่าวบรรยายแก่ผู้ร่วมงานอีกด้วย โดยฟิชเชอร์ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของอินเทลที่จะทำให้ผู้ใช้กูเกิ้ลได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนสถาปัตยกรรมอินเทลทั้งแอนดรอย์และโครมบุ๊ก  นอกเหนือจากกูเกิ้ล อินเทลเป็นองค์กรที่ให้ความทุ่มเทอย่างมากต่อการพัฒนาการใช้งานร่วมกับแอนดรอยด์ และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับกูเกิ้ลและนักพัฒนาระบบมากที่สุด เพื่อทำให้แอนดรอยด์และโครมใช้งานได้ดีที่สุดบนสถาปัตยกรรมอินเทล

กอนซากิว วาโลอิส รองประธานอาวุโสฝ่ายออกแบบจากเกมลอฟท์ กล่าวบนเวทีว่า เกมลอฟท์คือผู้นำในการพัฒนาเกมส์บนอุปกรณ์พกพา และกำลังดึงศักยภาพสูงสุดจากแอนดรอยด์และสถาปัตยกรรมอินเทลมาไว้ในเกมส์ของตน

นอกจากนี้ ฟิชเชอร์ ยังเปิดเผยว่า เทคโนโลยีอินเทลสามารถรองรับเคอร์เนล 64 บิตเพื่อใช้ร่วมกับ แอนดรอยด์ ทำให้นักพัฒนาสามารถใช้หน่วยความจำมีขนาดใหญ่กว่า 4GB ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานแอพลิเคชั่นดีขึ้น   ทำให้สามารถปรับแต่งหน่วยความจำใหม่ๆ สำหรับผู้ใช้งาน และช่วยกรุยทางให้กับการรับชมวิดีโอแบบอัลตร้า-เอชดีผ่านอุปกรณ์พกพาอีกด้วย

เมื่ออุปกรณ์พกพาเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ความต้องการในการใช้แอพลิเคชั่นและบริการเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากการใช้งานจึงเพิ่มตามไปด้วย และเพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างรายได้จากโอกาสที่เกิดขึ้นนี้ บริการจากระบบคลาวด์ของอินเทลจึงเข้ามาตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี โดยนักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอพลิเคชั่นและเกมส์ได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีทั้งนักธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป

นอกจากนี้ ฟิชเชอร์ ยังได้สาธิตให้เห็นถึงความสามารถของแพลตฟอร์มที่ใช้บริการคลาวด์จากอินเทล ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพลิเคชั่นที่รองรับระบบปฏิบัติการหลายชนิดได้ โดยใช้ประโยชน์จาก APIs และบริการคลาวด์  ฟิชเชอร์ ได้แสดงตัวอย่างของการสร้างบริการคลาวด์สำหรับบีทูบี (B2B) โดยใช้เทคโนโลยี อินเทล เอ็กซ์ดีเค นิว (XDK NEW) และเอพีไอ (API) จากบริษัท Aepona และ Mashery รวมถึงแพลตฟอร์มที่ใช้บริการคลาวด์จากอินเทล

ฟิชเชอร์ ได้สรุปทิ้งท้ายว่า ไฮไลต์ของงานที่ไม่ควรพลาด คือ อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ โซน  ซึ่งเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้สัมผัสกับซอฟต์แวร์ทูลส์ทุกชนิดที่มารวมตัวกันในโซนนี้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการพัฒนาแอพลิเคชั่น ที่สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น    ฟอร์มแฟ็กเตอร์ แพล็ตฟอร์ม และ เอชทีเอ็มแอล 5 รูปแบบต่างๆ กัน

ดรเฮอร์แมน อูล รองประธานองค์กรและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มโมบายล์และการสื่อสาร

เฮอร์แมน อูล เน้นย้ำถึงความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้นในด้านคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวและประสิทธิภาพของอุปกรณ์พกพาว่าในปัจจุบัน เทคโนโลยีเริ่มมีความเป็นส่วนตัวและแพร่หลายมากขึ้น โดยเขาได้กล่าวถึงภาพรวมของวิธีการที่บริษัทกำลังใช้ความได้เปรียบที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในด้านความสามารถต่างๆ ที่ได้จากการดีไซน์ สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ที่ล้ำหน้า และการผลิตที่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์อินเทล อินไซด์ที่ดีที่สุด โดย อูล ได้กล่าวว่าสถาปัตยกรรม “ซิลเวอร์มอนท์”นั้นโดดเด่นมากสำหรับวงการที่นับเป็นความสำเร็จด้านวิศวกรรมการผลิตชิพเอสโอซีในระดับเวิลด์คลาสนั้น ต้องเริ่มจากคอร์ซีพียูที่ดี” และยังกล่าวเสริมต่อไปว่า“ซิลเวอร์มอนท์ ทำให้อินเทลสามารถนำเสนอคอร์ที่มีสมรรถนะสูง สามารถเพิ่มหรือลดระดับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม”

จากรากฐานดังกล่าว อูลได้ประกาศเปิดตัวเอสโอซีตระกูลใหม่แบบมัลติคอร์และกินไฟต่ำ สำหรับ  แท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีกำหนดวางจำหน่ายในตลาดราวไตรมาสที่สี่ของปีนี้จากผู้ผลิตโออีเอ็มชั้นนำ ได้แก่ เอเซอร์* เอซุส* เดลล์* เลอโนโว* โตชิบา

อินเทล® อะตอม™ แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ เป็นโมบายล์คว๊อดคอร์รุ่นแรกและเป็นรุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สุดของอินเทลสำหรับแท็บเล็ตและอุปกรณ์พกพาที่มีดีไซน์บางเบา สำหรับอุปกรณ์ที่เป็นรุ่นสูงสุดจะมีพลังสมรรถนะของประสิทธิภาพที่สมดุลย์กับแบตเตอรี่และคุณสมบัติที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในดีไซน์ที่บางเบาและมาพร้อมกับการใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานเกินกว่าสิบชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถอยู่ในโหมด แสตนด์บายเครื่องได้นานถึงสามสัปดาห์โดยเครื่องยังสามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา1

เอสโอซีรุ่นล่าสุดช่วยให้ลูกค้าของอินเทลสามารถปรับแต่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หนึ่งตัวให้สามารถรองรับได้ทั้ง วินโดวส์ 8 และแอนดรอยด์ส่งผลให้ลูกค้าสามารถนำเสนออุปกรณ์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้อย่างหลากหลายในหลายระดับราคา ตรงกับความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป

อูล ยังได้เน้นถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย เนื่องจากเครือข่าย 4G แอพพลิเคชั่นที่อัดแน่นไปด้วยโปรแกรมมีเดีย และอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ผลักดันให้เกิดความต้องการด้านเทคโนโลยีสื่อสารที่  ล้ำหน้า โดยเขาได้กล่าวถึงโมเด็ม อินเทล® เอ็กซ์เอ็มเอ็ม 7160 (Intel® XMM 7160) ว่าได้มีการจัดส่งออกไปให้ลูกค้าแล้ว โดยโมเด็มที่รองรับ LTE เป็นหนึ่งในโซลูชั่นมัลติโหมดและมัลติแบนด์ที่กินไฟต่ำสุดและมีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยทุกเครื่องที่ออกสู่ตลาดในรุ่นนี้สามารถทำโรมมิ่ง LTE ได้ทั่วโลก

นอกจากนี้ อูล ยังได้คาดการณ์ถึงโมเด็ม เอ็กซ์เอ็มเอ็ม  7260 (XMM 7260) เจนเนอเรชั่นใหม่ ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในปี 2557  ที่รองรับ carrier aggregation ทำงานได้รวดเร็วขึ้น และรองรับเทคโนโลยี TD-LTE  และยังเน้นถึงแพล็ตฟอร์ม “เมอร์ริฟิลด์” (Merrifield) ของอินเทลที่จะเปิดตัวในปี 2557 สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต โดยได้เปรียบจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตรจะทำให้แพล็ตฟอร์มมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นร้อยละ 50 และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรรี่ที่ยาวนานขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้โคลฟเวอร์ เทรล+ (Clover Trail+) เจนเนอเรชั่นปัจจุบันซึ่งช่วยในเรื่องของการประมวลผลภาพนิ่ง การรับรู้แบบcontextual และบริการต่างๆ ที่มีความเป็นส่วนตัวผ่านฮับเซ็นเซอร์ที่รวมอยู่ภายใน และยังมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นในการปกป้องข้อมูล อุปกรณ์ และความเป็นส่วนตัวอีกด้วย

เคิร์ก สกาวเกน รองประธานอาวุโส และผู้จัดการทั่วไป กลุ่มเครื่องลูกข่ายพีซี

สกาวเกน ได้กล่าวถึงพีซีว่ามีวิวัฒนาการจนมาถึงอุปกรณ์ทูอินวันทางเลือกของระบบปฏิบัติการ และรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ  สำหรับอุปกรณ์ในกลุ่มอุปกรณ์ทูอินวันรุ่นใหม่นี้ ผู้บริโภคต่างได้รับประโยชน์จากการรวมพลังสมรรถนะของพีซีและความคล่องตัวในการใช้งานของแท็บเล็ตไว้ในอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว

อัลตร้าบุ๊กเป็นตัวผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไอที ที่จุดประกายให้เกิดดีไซน์ที่บางขึ้น และมีคุณสมบัติมากมายสำหรับจอสัมผัส ปัจจุบัน แล็ปท้อปหน้าจอสัมผัสมีวางจำหน่ายในราคาต่ำกว่า 450 เหรียญสหรัฐ  และจากการเปิดตัว เพนเที่ยม โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ (เบย์เทรล-เอ็ม) และเซเลอรอน โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ (เบย์เทรล-ดี)  สกาวเกน กล่าวว่า อินเทลคาดหวังว่า อุปกรณ์ทูอินวันจะมีราคาต่ำสุดถึง 349 เหรียญสหรัฐภายในปีนี้ ในขณะที่รุ่นฝาพับจะมีราคาต่ำสุดอยู่ที่ 199 เหรียญสหรัฐ  โดยเขากล่าวด้วยว่าชิพรุ่นใหม่จะมีอยู่ในอุปกรณ์ราคาย่อมเยาหลายแบบด้วยกัน ทั้ง แล็ปท้อป พีซีแบบเดสก์ท้อป และอุปกรณ์ออลอินวัน  ทั้งนี้ สกาวเกน ได้เชิญ ทามิ เรลเลอร์ รองประธานของไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ขึ้นกล่าวบนเวทีถึงความร่วมมือของบริษัททั้งสองเพื่อทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นเมื่อใช้อุปกรณ์โมบายล์ และยังสามารถใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มต่างๆ ได้เต็มที่อีกด้วย  โดยยังได้สาธิตให้ผู้ร่วมงานเห็นถึงคุณสมบัติใหม่ๆ บางตัวที่สามารถทำงานบนวินโดวส์ 8.1 ได้

นอกเหนือจากอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สกาวเกนยังได้ประกาศเปิดตัวอินเทล โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ล่าสุด คือ อินเทล® คอร์™ วีโปร™ เจนเนอเรชั่น 4 สำหรับผู้ใช้งานธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัวในการผลิตงานและการทำงานร่วมกับผู้จัดการไอที ซึ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับระบบความปลอดภัย การดูแลรักษาอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายต่างๆ โปรเซสเซอร์ตระกูลใหม่ล่าสุดนี้มีประสิทธิภาพสูงด้านการจัดการ ระบบรักษาความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ สามารถผลิตงานและทำงานร่วมกันได้ดียิ่งกว่าเดิม โดยมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการของนักธุรกิจ ตั้งแต่ แท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน อัลตร้าบุ๊ก พีซีทั้งแบบแล็บท้อป และเดสก์ท้อป

“ลักษณะการทำงานของนักธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินเทลสามารถนำเสนออุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานธุรกิจได้เป็นอย่างดีตลอดมา  สำหรับ อินเทล คอร์ วีโปร โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 4 รุ่นใหม่ล่าสุดนั้น มีคุณสมบัติต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งนักธุรกิจในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์และผู้จัดการด้านไอที ซึ่งได้แก่ ฟอร์มแฟ็กเตอร์ที่น่าสนใจ เช่น อุปกรณ์ทูอินวัน รวมถึงอัลตร้าบุ๊ก และแล็บท้อปหน้าจอสัมผัส ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัย ระบบการสั่งงานอัตโนมัติที่ใช้ง่าย และรูปแบบการประมวลผลใหม่ๆ ที่สามารถใช้งานได้คล่องตัวและมีความปลอดภัย  อีกทั้งยังมีคุณสมบัติใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในผลผลิตทางธุรกิจที่ติดตั้งมากับฮาร์ดแวร์อีกด้วย”

มาริโอ มุลเลอร์ รองประธานฝ่ายไอทีของบีเอ็มดับเบิ้ลยู เป็นอีกผู้หนึ่งที่ร่วมกล่าวบนเวทีกับสกาวเกน และได้กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนตร์มีการลงทุนอย่างมากเพื่อติดตั้งระบบที่ใช้วีโปร เพราะคำนึงถึงคุณค่าทางธุรกิจที่จะได้รับจากแพล็ตฟอร์มดังกล่าวทั้งในแง่ของความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

สกาวเกนยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ในอนาคต อินเทลจะยกระดับมารตรฐานให้สูงขึ้นอีกด้วยแพล็ตฟอร์มโปรเซสเซอร์ขนาด 14 นาโนเมตรที่จะตามมา ซึ่งมีชื่อรหัสว่า “บรอดเวลล์” (Broadwell) โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัวในปี 2557 ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้กับระบบใหม่ๆ โดยไม่ต้องใช้พัดลมระบายความร้อน และยังมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ สกาวเกน ยังเปิดเผยถึงรายละเอียดของบางส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีเพอร์เซ็ปช่วล คอมพิวติ้ง โดยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีกล้องถ่ายรูป Creative Senz3D Interactive Gesture Camera ที่สามารถเล่นเกมมัลติ-ไดเมนชั่น ใช้งานวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ และควบคุมการทำงานด้วยคำสั่งเสียงได้ โดยสามารถสั่งซื้อกล้องดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ Creative.com และในอีกไม่ช้า เดลล์, อเมซอน, นิวเอก (Newegg), และ ไทเกอร์ไดเร็ก (TigerDirect) จะมีจำหน่ายตามมา ในช่วงท้าย สกาวเกนได้กล่าวสรุปถึงพีซีออลอินวันและแล็บท้อป ซึ่งภายในตัวเครื่องมีกล้องถ่ายรูปที่สามารถโต้ตอบกับท่าทางของผู้ใช้งาน โดยที่เอซุส, เดลล์, เอชพี และเลอโนโว จะบรรจุกล้องชนิดนี้ไว้ในอุปกรณ์ของตนเพื่อเปิดตัวในช่วงปลายปีหน้า