[PR] อีเมลสแปมหลอกเสนอเงินกู้ระบาดหนัก คิดก่อนคลิก ไม่ระวังอาจสูญเงิน

credit_spam_01

มาเรีย เวิร์จลิส นักวิเคราะห์สแปมและผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้ แลป ผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อการปกป้องคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เตือนภัยร้ายแฝงมาในรูปอีเมลเสนอเงินกู้เพื่อการลงทุนและเพื่อใช้จ่ายทั่วไป ซึ่งกำลังระบาดหนักทั่วโลก พร้อมแนะนำวิธีป้องกันการตกเป็นเหยื่อก่อนสูญเงินในบัญชี

อีเมลสแปมเสนอเงินกู้: ประสบการณ์แสนแพงและอันตราย

บริษัทขนาดเล็กและผู้ปล่อยเงินกู้รายย่อย ไม่มีงบเสนอแคมเปญการตลาดเพื่อดึงดูดใจลูกค้าได้มากเท่าธนาคารรายใหญ่ จึงมักเข้าหาลูกค้าด้วยวิธีง่ายและประหยัดอย่างการส่งอีเมล อาชญากรไซเบอร์จึงคิดกลโกงทางอินเทอร์เน็ตโดยสร้างเครดิตสแปมขึ้น จุดมุ่งหมายคือการค้นหาและเก็บรวบรวมข้อมูลของเหยื่อ ขณะที่ทำทีท่าเป็นเสนอเงินกู้ก้อนโตให้เหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขสปอร์ต รหัสอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง รหัส CVV 3 หลักบนบัตรเครดิต และข้อมูลติดต่ออื่นๆ ซึ่งจะนำไปใช้ในการปลอมแปลงเอกสารเพื่อขโมยเงินของเหยื่อในขั้นต่อไป

กลโกงของอาชญากรไซเบอร์

กลโกงร้ายมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น

  • ฟิชชิ่ง เป็นกลวิธีการขโมยข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการปลอมเป็นเว็บไซต์ธนาคารชั้นนำต่างๆ พร้อมแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล
  • มัลแวร์ แฝงมาในรูปของไฟล์แนบในอีเมล ทั้งแบบฟอร์มการสมัครและสัญญาเงินกู้

ระวัง! อย่าคิดตอบอีเมลสแปม

การส่งอีเมลตอบกลับ ไม่ว่ากรณีใดๆ แม้จะตอบปฏิเสธก็ตาม จะเป็นการยืนยันกลับไปทางอาชญากรไซเบอร์ว่าอีเมลนี้มีเจ้าของและใช้งานได้จริง ทำให้แก๊งต้มตุ่นยิ่งกระหน่ำส่งอีเมลโฆษณาชวนเชื่อพร้อมโปรโมชั่นล่อใจมาที่อีเมลนี้จำนวนมาก

เคล็ดไม่ลับเพื่อความปลอดภัย

  • อย่ากรอกข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ที่น่าสงสัย
  • อย่ากรอกแบบฟอร์มที่ได้รับจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก
  • อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน จนกว่าจะแน่ใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคาร
  • อย่าเปิดไฟล์ exe หรือไฟล์เอกสารอื่นๆ ที่แนบมาในอีเมลที่ได้รับจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก
  • เลือกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีฟีเจอร์ตรวจสอบเว็บลิงค์ปลอมและไฟล์ที่แนบมากับอีเมล

มาเรีย เวิร์จลิส กล่าวเสริมว่า “ทีมผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบแก๊งต้มตุ่นและค้นพบทุกกลเม็ดที่ใช้หลอกลวงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต บางรายล่อลวงเหยื่อโดยสัญญาว่าจะอนุมัติเงินกู้ก้อนใหญ่ให้ แม้ว่าเหยื่อจะเคยติดแบล็คลิสต์จากธนาคารอื่นมาก่อนก็ตาม บางรายก็หลอกว่าเป็นตัวแทนจากองค์กรทางศาสนาและองค์กรเพื่อการกุศล พร้อมแจ้งว่าต้องการระดมความช่วยเหลือไปยังผู้ที่ขาดแคลน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตควรระมัดระวังการเปิดไฟล์แนบทุกกรณี โดยเฉพาะจากผู้ส่งอีเมลที่ไม่รู้จักมักคุ้น เพราะจะเปิดทางให้มัลแวร์ทำงานในเครื่องของเรา เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการเงินต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สูญเงินได้”