[PR] อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่สำหรับศูนย์ข้อมูลประสิทธิภาพสูงบนคลาวด์

Avoton2

อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดตัวผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีชุดใหญ่ เจาะตลาดระบบศูนย์ข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่ต้องการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของตนให้มีประสิทธิภาพและคล่องตัวยิ่งกว่าเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านบริการและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

โครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูล มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับเพื่อให้รองรับการทำงานที่ไม่สลับซับซ้อนได้หลายระดับมากขึ้น จนเกิดโมเดลใหม่ๆ เช่น ไมโครเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจสำหรับข้อมูลร่วม และระบบเครือข่ายระดับเริ่มต้นใช้งาน  แนวทางการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้เหมาะกับปริมาณงานแต่ละชนิดจะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทำได้คล่องตัวขึ้น ส่งผลให้การเลือกใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ซอฟต์แวร์นิยามแนวทางการทำงานทำได้ดียิ่งขึ้น โดยอินเทลจะช่วยให้บริษัทผู้ให้ บริการระบบคลาวด์ดึงประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ มาใช้ได้ดียิ่งกว่าเดิม ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้บริโภคและธุรกิจมีรูปแบบการใช้งานที่สอดคล้องกันได้ดียิ่งกว่าเดิม

ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดของอินเทลประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ในตระกูลซิสเต็มออนชิพ (เอสโอซี) อินเทลอะตอม ซี2000 แบบ 64 บิตรุ่นใหม่ สำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์และแพลตฟอร์ม สตอเรจสำหรับข้อมูลร่วมซึ่งมีชื่อรหัสว่า “อาโวตัน” (Avoton) รวมทั้งระบบเครือข่ายระดับเริ่มต้นใช้งาน ในชื่อรหัสว่า “เรนเจลี” (Rangeley)  สำหรับเอสโอซีรุ่นใหม่นี้เป็นผลิตภัณฑ์รุ่นแรกของอินเทลที่พัฒนามาจากไมโครอาร์จิเทคเจอร์ “ซิลเวอร์มอนต์” ซึ่งเป็นดีไซน์ใหม่ที่ใช้ขั้นตอนการผลิตไตร-เกต เอสโอซี ขนาด 22 นาโนเมตร จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอัตราการใช้พลังงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก และเป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจากเอสโอซีรุ่นแรกโดยใช้เวลาเพียงเก้าเดือนเท่านั้น

ไดแอน ไบรอันท์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป แผนกศูนย์ข้อมูลและระบบเชื่อมต่อของอินเทล กล่าวว่า “ทั่วโลกเริ่มหันมาเน้นการใช้งานอุปกรณ์โมไบล์มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นศูนย์ข้อมูลต่างๆ จึงต้องเผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเมื่อต้องให้บริการอุปกรณ์และผู้ใช้หลายพันล้านคน ในฐานะที่อินเทลคือผู้นำในการพัฒนาซิลิกอน การออกแบบเอสโอซี สถาปัตยกรรมระบบแร็ก และการทำงานของซอฟต์แวร์ ทำให้เรามีนวัตกรรมหลักๆ อยู่ในมือ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร และผู้ให้บริการคลาวด์จำเป็นต้องใช้เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลของตนเองให้สามารถรองรับการใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้”

นอกจากนั้น อินเทลยังเปิดตัว อินเทล® อีเธอร์เน็ต สวิตช์ เอฟเอ็ม 5224 (Intel® Ethernet Switch FM5224) ซึ่งเมื่อนำมาใช้งานร่วมกับชุดซอฟต์แวร์ “วินด์ริเวอร์ โอเพ่น เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์” (WindRiver Open Network Software) แล้ว จะกลายเป็นโซลูชั่นเอสดีเอ็น (Software Defined networking or SDN) สำหรับเซิร์ฟเวอร์เพื่อนำไปเพิ่มความจุและลดอัตราการใช้พลังงานได้

Avoton1

นอกจากนั้นอินเทลยังได้สาธิตประสิทธิภาพของ Intel® Rack Scale Architecture (RSA) ที่ทำงานได้จริงเป็นครั้งแรก โดยใช้เทคโนโลยี อินเทล®  ซิลิกอนโฟโตนิคส์ ภายในตู้ที่ใช้ตัวเชื่อมต่อ MXC และออพติคัล  ไฟเบอร์ ClearCurve* รุ่นใหม่ที่พัฒนาโดยบริษัทคอร์นนิง* ตามรายละเอียดที่อินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้น การสาธิตครั้งนี้เน้นให้เห็นถึงความรวดเร็วที่อินเทลและอุตสาหกรรมไอทีสามารถแปลงแนวคิดให้กลายเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้อย่างแท้จริง

ปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพของ อินเทล อะตอม เอสโอซี สำหรับตลาดปัจจุบันและอนาคต

ผลิตภัณฑ์ตระกูล อินเทล อะตอม ซี2000 รุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรที่ล้ำหน้าของอินเทล จนสามารถบรรจุได้มากถึง 8 คอร์ มี TDP ตั้งแต่ 6 ถึง 20 วัตต์ มีอีเธอร์เน็ตในตัว และรองรับการใส่หน่วยความจำได้มากถึง 64 กิกะไบท์ (GB) ซึ่งมากกว่าชิพรุ่นก่อนหน้านี้ถึง 8 เท่า บริษัทผู้ให้บริการเว็บโฮสติงชั้นนำของโลกอย่าง OVH* และ 1&1 ได้ทดสอบประสิทธิภาพของ อินเทล อะตอม ซี2000 เอสโอซี แล้ว และมีแผนนำไปติดตั้งสำหรับบริการโฮสติ้งและระดับเริ่มต้นใช้งานของตนภายในไตรมาสหน้านี้ เทคโนโลยีขั้นตอนการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร ช่วยให้ได้ชิพที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า และยังให้ประสิทธิภาพต่อวัตต์ที่ดีกว่าเดิมอีกด้วย

อินเทลพัฒนาเอสโอซีที่แตกต่างกันถึง 13 รุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติและระบบเร่งความเร็วที่ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กับปริมาณงานในระดับต่ำโดยเฉพาะ เช่น บริการโฮสติงสำหรับธุรกิจในระดับเริ่มต้น หน่วยความจำเก็บข้อมูลที่กระจัดกระจาย บริการเว็บที่มีคอนเทนท์ตายตัว และการจัดสรรคอนเทนท์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม การออกแบบในลักษณะนี้ช่วยให้อินเทลขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้ เช่น ระบบ สตอเรจสำหรับข้อมูลร่วมและระบบเครือข่ายระดับเริ่มต้นใช้งาน เป็นต้น

จากตัวอย่าง เช่น อินเทล อะตอม รุ่นใหม่ที่ดีไซน์มาสำหรับระบบเครือข่ายระดับเริ่มต้นใช้งานสามารถสนองตอบความต้องการเฉพาะในเรื่องการรักษาความปลอดภัยและการปรับเปลี่ยนทิศทางสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เอสโอซีรุ่นใหม่มีชุดเร่งความเร็วที่เป็นฮาร์ดแวร์ซึ่งมีชื่อว่า Intel® QuickAssist Technology ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบเข้ารหัสให้ดีขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เหมาะกับการใช้ในเราท์เตอร์และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

การรวมเอางานสามชนิดที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเข้าด้วยกัน (แอพลิเคชั่น ระบบควบคุม และการประมวลผลแพ็กเก็ต) ไปเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานเพียงชุดเดียวช่วยทำให้ในตอนนี้บริษัทผู้ให้บริการมีระบบซึ่งสามารถทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น จึงสามารถสนองตอบต่อความต้องการใช้ระบบเครือข่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าเดิมด้วย

อีริกสัน ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและบริการด้านการสื่อสาร ประกาศว่า สวิตช์แบบเบลดของตนที่ใช้ใน อีริกสัน คลาวด์ซิสเต็มส์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ช่วยให้บริษัทผู้ให้บริการรายอื่นๆ เพิ่มคุณสมบัติคลาวด์ให้กับระบบเครือข่ายที่มีอยู่เดิมของตนเองได้จะใช้ผลิตภัณฑ์ตระกูล อินเทล อะตอม ซี2000 เอสโอซี ในเร็วๆ นี้

สวิตช์สำหรับไมโครเซิร์ฟเวอร์ รองรับระบบ Software Defined Networking

โซลูชั่นระบบเครือข่ายที่ใช้บริหารจัดการสัญญาณข้อมูลระหว่างไมโครเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก มักได้รับผลกระทบจากประสิทธิภาพและความจุของระบบ อินเทลจึงได้นำ Intel Ethernet Switch FM5224        มาทำงานร่วมกับชุดซอฟต์แวร์ WindRiver Open Network Software เพื่อให้เป็นสวิตช์โซลูชั่น SDN Ethernet 2.5 GbE ความจุสูง ความหน่วงของเวลาในการส่งข้อมูลต่ำชนิดแรกของอุตสาหกรรม ซึ่งพัฒนามาเพื่อไมโครเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ โซลูชั่นนี้เพิ่มขีดความสามารถของนวัตกรรมระดับระบบ ควบคู่ไปกับการติดตั้งอินเทลอีเธอร์เน็ตคอนโทรลเลอร์ภายในโปรเซอร์รุ่น อินเทล อะตอม ซี2000 ได้เลย ซึ่งเมื่อนำมาทำงานร่วมกัน เราจะสามารถนำมาใช้สร้างโซลูชั่นเอสดีเอ็นสำหรับศูนย์ข้อมูลได้

สวิตช์ที่ใช้ Intel Ethernet Switch FM5224 รุ่นใหม่ สามารถเชื่อมต่อไมโครเซิร์ฟเวอร์ได้มากถึง 64 ชุด ให้ความจุของเครื่องเครือข่ายสูงขึ้นร้อยละ 303 มีแบนด์วิธสูงขึ้น 2.5 เท่า6 และมีความล่าช้าลดลงสองเท่า7 สวิตช์เหล่านี้พัฒนามาจากดีไซน์อ้างอิง Intel Open Network Platform  ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปีนี้

สาธิตพลัง แร็ก “ซิลิกอนโฟโตนิคส์” เป็นครั้งแรก

ประสิทธิภาพสูงสุดของศูนย์ข้อมูลจำเป็นต้องมีนวัตกรรมระดับซิลิกอน ระบบ และแร็ก ด้วยเหตุนี้งานการออกแบบ RSA ของอินเทลจึงเข้ามาช่วยเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมให้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสถาปัตยกรรมของศูนย์ข้อมูลจนกลายเป็นส่วนประกอบที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ (ระบบจัดเก็บข้อมูล ซีพียู หน่วยความจำ ระบบเครือข่าย) ในระดับแร็ก แนวทางนี้ช่วยทำให้เราสามารถจัดสรรทรัพยากรแบบโลจิคอลโดยอิงกับเงื่อนไขปริมาณงานเฉพาะของแอพลิเคชั่นได้ นอกจากนั้นการออกแบบ RSA ของอินเทลยังช่วยให้เปลี่ยนและปรับเปลี่ยนส่วนประกอบต่างๆ ตอนติดตั้งระบบประมวลผลคลาวด์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และทรัพยากรของระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้นด้วย

นับเป็นครั้งแรกที่อินเทลได้ดำเนินการสาธิตแร็ก RSA ที่ทำงานได้เป็นครั้งแรก โดยแร็กดังกล่าวประกอบด้วยอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ สวิตช์ Intel SDN และเทคโนโลยี Intel Silicon Photonics นอกจากการสาธิตครั้งนี้ อินเทลยังได้แนะนำ ตัวเชื่อมต่อ MXC และเทคโนโลยีไฟเบอร์ ClearCurve ที่พัฒนาโดยบริษัทคอร์นนิง* ตามรายละเอียดจำเพาะที่อินเทลกำหนดอีกด้วย การเชื่อมต่อไฟเบอร์ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับ Intel Silicon Photonics

ความร่วมมือในลักษณะดังกล่าวเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของความต้องการใช้แบนด์วิธความเร็วสูงภายในศูนย์ข้อมูล การส่งโฟตอนผ่านออพติคอลไฟเบอร์เส้นบางๆ แทนที่จะเป็นการส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเคเบิลทองแดง ช่วยทำให้เทคโนโลยีใหม่นี้สามารถโอนถ่ายข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ความเร็วซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อน แถมยังส่งผ่านระยะทางที่ไกลขึ้นอีกด้วย การโอนถ่ายข้อมูลอาจมีความเร็วถึง 1.6 เทราบิตต่อวินาที4 ที่ความยาวมากถึง 300 เมตรภายในศูนย์ข้อมูล

ไมโครซอฟท์และอินเทลประกาศความร่วมมือพัฒนาการออกแบบแร็ก RSA รุ่นต่อไปของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าการออกแบบ Intel RSA กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เป้าหมายคือการนำเอาอัตราการใช้ประโยชน์ ความประหยัด และความคล่องตัวที่ดีกว่าเดิมมาสู่ศูนย์ข้อมูลของไมโครซอฟท์

ขณะนี้ อินเทลเริ่มจำหน่ายอินเทล อะตอม ซี2000 ให้กับลูกค้าแล้ว โดยมีดีไซน์มากถึง 50 แบบเพื่อรองรับความต้องการไมโครเซิร์ฟเวอร์ cold storage และระบบเครือข่าย ได้อย่างเต็มที่ และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เอสโอซีของอินเทลจะเริ่มจำหน่ายจากผู้ค้า เช่น Advantech*, Dell*, Ericsson*, HP*, NEC*, Newisys*, Penguin Computing*, Portwell*, Quanta*, Supermicro*, WiWynn*, ZNYX Networks* เป็นต้น

ผู้สนใจต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดตัวรวมทั้งการบรรยายของไดแอน ไบรอันท์ เอกสารเพิ่มเติมและรูปภาพ สามารถดูได้ที่ http://newsroom.intel.com/docs/DOC-4267