Lazada

[PR] ภายในคลังสินค้าแห่งอนาคต

warehouse_6

คุณได้จินตนาการคลังสินค้าในอนาคตไว้ว่ามีรูปแบบอย่างไร ซึ่งอาจเป็นคลังสินค้าที่ทำงานด้วยระบบหุ่นยนต์อย่างเต็มรูปแบบโดยไม่มีมนุษย์ควบคุม หรืออาจจะเป็นการเลือกสินค้าและส่งไปยังหุ่นยนต์ที่รออยู่ตรงสถานีคัดแยก

ในความเป็นจริงแล้ว รูปภาพนี้ไม่ได้แตกต่างจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง เรากำลังเริ่มที่จะเห็นคลังสินค้าในอนาคตที่ก่อตัวขึ้นแล้วในตอนนี้ วิวัฒนาการของคลังสินค้าเกิดขึ้นจากการขยายตัวของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซในทวีปเอเชียเป็นบางส่วน สำหรับประเทศไทย มูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2015 ได้สูงถึง 2.1 ล้านล้านบาทและมีผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 11 ล้านคนที่ทำการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นประจำ

ดังนั้น คลังสินค้าจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ การศึกษาเรื่อง Zebra Warehouse 2020 Vision ได้เผยให้เห็นถึงการค้นพบที่น่าสนใจจำนวนมากที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพอุตสาหกรรมในปัจจุบันและแนวโน้มโดยผู้ที่ทำการตัดสินใจสำหรับ 3-4 ปีข้างหน้า

การศึกษานี้แสดงให้ว่าผู้จัดการคลังสินค้าอย่างน้อย 74% ได้วางแผนที่จะตระตรียมเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแก่พนักงาน ซึ่งจะเพิ่มการมองเห็นในการทำงานและปฏิบัติงานโดยอัตโนมัติที่กระทำด้วยมือก่อนหน้านี้ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่มีการติดบาร์โค้ดหรือแท็กด้วย RFID จะช่วยให้พนักงานติดตามตำแหน่งที่ตั้งและสินค้าในสต็อกได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยเพิ่มเวลาในการเติมสินค้าให้ยาวนานยิ่งขึ้น

จากผลสำรวจนี้ ผู้จัดการคลังสินค้าในบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังทั้งห้าแห่งมีความสนใจในอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) การสแกนบาร์โค้ด คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต บิ๊กดาต้า/การวิเคราะห์ และระบบอัตโนมัติ นอกจากนี้อุปกรณ์สวมใส่และ RFID ยังเป็นสิ่งที่ต้องการสองประการนอกเหนือจากเทคโนโลยีในคลังสินค้า

ด้วยอุปกรณ์สวมใส่ที่ง่ายต่อการใช้งานและคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ผลิตไว้สำหรับสภาพแวดล้อมแบบองค์กร พนักงานจะสามารถค้นหาและติดตามวัตถุด้วยความเร็วที่รวดเร็วขึ้น ความพยายามที่น้อยลง และความแม่นยำที่สูงขึ้น การใช้งานคอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ตแบบพกพาด้วยการเข้าถึงระบบการจัดการคลังสินค้าแบบเรียลไทม์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 40% ในปี 2015 เป็น 86% ในปี 2020 ในขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่าการใช้งานปากกาและกระดาษจะลดลงเหลือ 24% ในอีกสี่ปีข้างหน้า ลดลงจาก 95% เพียงสองถึงสามปีที่ผ่านมา

อุปกรณ์สวมใส่ที่นำมาใช้งานในคลังสินค้ามักจะเป็นโมดอลแบบหลากหลาย ซึ่งหมายความว่าพนักงานจะสามารถเข้าถึงการทำงานแบบหลากหลาย เช่น การตรวจจับบาร์โค้ดและแท็ก RFID การสั่งงานด้วยเสียง และข้อความบนหน้าจอหรือหน้าจอรูปภาพด้วยหนึ่งเครื่องมือ

จากการศึกษาของ Zebra ผู้จัดการคลังสินค้าได้ประเมินไว้ว่ามีการใช้เวลาไป 50 ชั่วโมงสำหรับการฝึกอบรมพนักงานใหม่เพื่อให้ได้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด และหวังว่าจะลดให้เหลือ 36 ชั่วโมง สำหรับ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ อุตสาหกรรมนี้กำลังปรับใช้การเลือกและการเพิ่มเติมสินค้าคงคลังแบบเสียงและหน้าจอในอีกห้าปีข้างหน้า ซึ่งออกแบบมาให้ผู้ปฏิบัติการสามารถจดจ่ออยู่กับงานที่ดำเนินการอยู่

warehouse7

การใช้รูปแบบหน้าจอสัมผัสสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรที่โหลดด้วยระบบปฏิบัติการเดียวกันเช่น แอนดรอยด์ ยังลดเส้นกราฟการเรียนรู้สำหรับพนักงานที่ได้รับการว่าจ้างเป็นครั้งคราวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการประจำฤดูกาล

การแทรกสลับได้รับการพิจารณาว่าจะส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานด้วยเช่นกัน ในสถานการณ์เช่นนี้ ได้มีการเพิ่มกิจกรรมการเลือกรายการของพนักงานได้ให้สูงสุดโดยการมอบหมายงานต่างๆ ในกิจกรรมเดียว สิ่งนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ถึง 10-40เปอร์เซ็นต์และคาดหวังว่าจะเติบโตขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2020

61 เปอร์เซ็นต์  ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า ภายในปี 2020 อุตสาหกรรมทางคลังสินค้าจะขยายการใช้งานระบบ Cross Docking ซึ่งศูนย์กลางกระจายสินค้า ที่สามารถรับ-ส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน โดยสามารถรับและถ่ายโอนสินค้าจากรถขนส่งที่เข้ามาที่ศูนย์ไปยังรถขนส่งอีกคันหนึ่งได้โดยตรง ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าเช่าคลังเก็บสินค้าในระหว่างทางได้ และส่งสินค้าถึงที่หมายปลายทางได้อย่างรวดเร็ว

จากการบูรณาการใช้งานของเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของถ่ายโอนสินค้าในคลังสินค้า จะช่วยส่งผลทำให้กระบวนการผลิตพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดภายในไม่กี่ปี

ในโลกธุรกิจ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายมักจะประสบกับ “Bullwhip Effect” หรือปรากฏการณ์แส้ม้า  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือคลาดเคลื่อนของข้อมูลเพียงเล็กน้อยในด้านใดด้านหนึ่ง สามารถส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงผันผวนขนาดใหญ่ในอีกด้านหนึ่ง ดังนั้น จึงทำให้การคาดการณ์กรณีสินค้าขาดแคลนหรือล้นตลาดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า สาเหตุของการปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip effect) มาจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การจะแก้ปัญหาในส่วนนี้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องทำให้ข้อมูลที่ได้รับถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด โดยต้องสามารถได้รับข้อมูลที่อัพเดทที่สุดพร้อมๆ กับที่เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเลยทีเดียว และนี่จึงเป็นที่มาของแนวคิดการแสดงผลที่เห็นได้จริง

โดยความสำเร็จทางด้านแสดงผลที่มองเห็นได้จริง (Enhanced visibility ) ผ่านการใช้เทคโนโลยีในคลังสินค้า เช่น ในอดีตเราใช้วิธีการทำงานผ่าน ปากกาและกระดาษ  (pen-and-paper-based spreadsheets) แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้วิธีเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาและแท็บเล็ต ซึ่งเป็นการอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานและการประมวลผลแบบเรียลไทม์

การใช้งานบาร์โค้ดเป็นวิธีการป้อนข้อมูลและจัดเก็บเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยการสแกนเพียงครั้งเดียว แล้วสามารถนำมาใช้งานภายในคลังสินค้าหรือแม้แต่ภาคสนามก็ได้ เช่นเดียวกันกับแท็ก RFID ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทำงานได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ สินค้าที่มีการติดแท็กด้วยระบบของ RFID จะมีระบบที่สามารถสื่อสารข้อมูลกับ เครื่องอ่าน หรือ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ เพื่อให้พนักงานในคลังสินค้าทราบ เมื่อสินค้าในคลังกำลังจะหมด ทำให้สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวของสต็อกสินค้าต่างๆ แบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย

สำหรับลูกค้าชาวไทยและบริษัทด้านอีคอมเมิร์ซ มีความคาดหวังเกี่ยวกับทางเลือกในการขนส่งสินค้าแบบเฉพาะตัว(tailor-made) เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น คลังสินค้าในอนาคตจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะปรับตัวให้พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ความสามารถในการคาดการณ์ความต้องการด้านอุปสงค์และอุปทาน การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ รวมถึงการลดความผิดพลาดของข้อมูล จึงเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ เมื่อองค์กรต่างๆ หันมาดำเนินงานด้วย Enterprise Asset Intelligence solutions.