[PR] ซิป้าประกาศจุดยืนเน้นย้ำภารกิจอยู่คู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

????????????????????????????????????

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ประกาศจุดยืนเน้นย้ำภารกิจอยู่เคียงข้างพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สร้างความมั่นใจพร้อมจับมือพันธมิตรร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เดินหน้าชูโรดแมป ผลักดันโครงการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ พ.ศ.2560 – 2563 ที่ปรับปรุงใหม่ หนุนทั้งด้านบุคลากร ผู้ประกอบการ ด้านตลาด ผ่านโครงการ Tech Startup ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน และมุ่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้ทันสมัยภายใต้โครงการ Smart City ไปพร้อมกัน เพื่อเอื้อต่อการลงทุนมุ่งหวังสร้างมูลค่าการตลาด และการเติบโตด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เติบโตก้าวไกลทั้งในและต่างประเทศ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวในงานแถลงข่าว SIPA: Fostering Thailand’s Digital Economy ซิป้าหนุนไทย ก้าวไกลสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยแถลงนโยบาย และแสดงโรดแมปในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลว่า ทิศทางนโยบายของซิป้ามีจุดยืนชัดเจนที่จะยืนหยัดอยู่คู่กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย โดยเดินหน้าสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้วยการจับมือเป็นพันธมิตร ร่วมกัน เพื่อให้เกิดโรดแมปในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาล โดยจะเดินหน้าไปตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ พ.ศ.2560 – 2563 ที่มีการปรับปรุงใหม่ให้สัมฤทธิ์ผลโดยเร็วในลักษณะของการดำเนินงาน และการปฏิบัติงานเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์กรของรัฐ และเอกชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมด และการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และพัฒนาตลาด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไปพร้อมกันให้มีความทันสมัย ภายใต้โครงการSmart City ที่ให้บรรยากาศเอื้อต่อการลงทุน และนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆป้อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เติบโตสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

คุณจีรวรรณ-Sipa

ทั้งนี้การดำเนินงานตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจดิทัล โดยสำนักงานฯ มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ มีการศึกษาข้อมูลแนวโน้มของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ Mobile Apps, Cloud Computing, Social Media, Big Data เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดใหม่ของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่กลุ่มองค์กรธุรกิจต่างๆ มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภท Custom software ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาใช้เองในประเทศ ทั้งนี้ จะเห็นได้จากตัวเลขการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย มีอัตราการเติบโตชัดเจน โดยมูลค่าตลาดการผลิตซอฟท์แวร์ และบริการซอฟต์แวร์ในปี 2559 จากการสำรวจของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) คาดว่าจะมีมูลค่า 69,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 47,123 ล้านบาทในปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 17.1 ซึ่งตัวเลขจะเห็นว่าตลาดซอฟต์แวร์ และบริการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ประเภท Custom software มีมูลค่าสูงที่สุด โดยมีมูลค่า 16,164 ล้านบาท ในปี 2556 และมีมูลค่าถึง 17,540 ล้านบาทในปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และในส่วนของบริการซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ ก็มีปริมาณมูลค่าและแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามลำดับโดยมีอัตราเติบโตรวมเป็นร้อยละ 9.1 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยพร้อมก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

จีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร

นางจีราวรรณ กล่าวต่อว่า ซิป้าได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงไอซีทีให้ดำเนินโครงการสำคัญในหลายมิติ อาทิ เป็นหน่วยงานนำร่องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และกำหนดให้มีโครงการสำคัญเพื่อกระจายรายได้อย่างทั่วถึงในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในระดับชุมชน และยกระดับผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรสายซอฟต์แวร์ เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยสำนักงานฯ มีการผลักดันส่งเสริมสนับสนุน ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยในประเทศมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนด้านความตระหนักในการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน Digital Content ซึ่งในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับ Digital Content กระจายไปทั่วภูมิภาคจำนวน 28 หลักสูตร 27 มหาวิทยาลัย และมีบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มากขึ้น

ARR_1169

นอกจากนี้ทางสำนักงานฯ ยังมุ่งเน้นผลักดันโครงการประจำปีและโครงการ Flagship ในปี 2559 เพื่อเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ทั้งด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับ Thailand Tourism Open Platform โครงการ TECH STARTUP โครงการ HEALTHCARE เกี่ยวกับ Personal Health Record การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบ HIS และข้อมูลสุขภาพจังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ ได้ โครงการSMEs ใช้ ICT และทำ E-Business โครงการ Phuket Smart City เพื่อสร้างอุตสาหกรรมดิจิทัลที่จังหวัดภูเก็ตให้เป็นสถานที่ทำงาน และเจรจาธุรกิจของนักทำงานด้านดิจิทัลและนักลงทุน อีกทั้งการพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งระดับประเทศ และระดับโลกผ่านเวทีประกวดได้แก่  THAILAND ICT AWARDS: การประกวดผลงานซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติTHAILAND DIGI CHALLENGE: การประกวดผลงาน Digital Content ดีเด่นแห่งชาติ, ANGEL IN THE CITY: การประกวดผลงานผู้ประกอบการซอฟต์แวร์รายใหม่แห่งชาติ, ASIA PACIPIC ICT AWARDS, ACM-ICPC ASIA: เจ้าภาพการแข่งขันเขียนโปรแกรมระดับโลก, ASIAN ANIMATION SUMMIT: Pitching ด้านAnimation ที่เกาหลีใต้ ขณะที่การส่งเสริมด้านการตลาดยังมุ่งมั่นในการจัดงาน SOFTWARE EXPO ASIA: มหกรรมการแสดงนวัตกรรมดิจิทัล และซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชีย, งานฺBANGKOK ENTERTAINMENT WEEK & BANGKOK INTERNATIONAL DIGITAL CONTENET FESTIVAL งาน BUSINES MATCHING: งานเจรจาธุรกิจด้านเกมส์ เป็นต้น

ภาพหมู่บนเวที

“ สำนักงานฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายเพื่อนำข้อคิดเห็นต่างๆ มาประมวลผลและปรับกระบวนการทำงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว” นางจีราวรรณ กล่าวทิ้งท้าย