Lazada

LAW SPU พาไปส่อง 7 อาชีพในฝันของนักเรียนกฎหมาย

รู้หรือไม่ทำไม! นักเรียนกฎหมายใช้เวลาส่วนใหญ่เดินทางท่องไปในเนื้อหาตำรานิติศาสตร์ที่กว้างใหญ่ไพศาลราวกับไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขามีเป้าหมายชัดเจนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตด้วยวิชานิติศาสตร์ เป้าหมายก็เหมือนเข็มทิศชี้ทางให้เราทำอะไรซักอย่างด้วยวิธีอะไรซักอย่างเพื่อให้เราขยับเข้าใกล้มันจนกว่าจะไปถึง และเป้าหมายทางอาชีพที่นักเรียนกฎหมายไฝ่ฝันจะมีอะไรกันบ้าง แล้วมีที่ตรงกับความฝันของคุณบ้างไหม วันนี้จึงจะพาไปส่อง 7 อาชีพในฝันของนักเรียนกฎหมายว่ามีอะไรกันบ้างตามมาส่องกันได้เลย
1.ทนายความ – อาชีพที่เป็นผู้แก้ต่างในคดี ให้คำปรึกษากฎหมาย ยื่นฟ้องคดี และงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของลูกความ ซึ่งต้องผ่านการสอบคัดเลือกจากสภาทนายความ (ตั๋วทนาย) ส่วนเงินเดือนก็ตามประสบการณ์ และความยากง่ายของคดีความ
2.นิติกร – อาชีพที่เป็นนักกฎหมาย และปฏิบัติงานด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน มีตั๋วทนายหรือไม่ก็ได้ ส่วนเงินเดือนก็ตามประสบการณ์
3.ที่ปรึกษากฎหมาย – อาชีพในการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในกฎหมายเฉพาะ และกฎหมายทั่วไป มีตั๋วทนายหรือไม่ก็ได้ ส่วนเงินเดือนก็ตามประสบการณ์ หรือความเฉพาะด้านกฎหมายของการให้คำปรึกษา
4.ผู้พิพากษา – อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน คือข้าราชการ มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งต้องเรียนจบเนติบัณฑิต และต้องผ่านการสอบคัดเลือก จะได้รับค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด
5.อัยการ – หรือที่เรียกกันว่า “ทนายของแผ่นดิน” เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ มีหน้าที่รวบรวมสำนวนคดี และยื่นฟ้องต่อศาล ฯลฯ ซึ่งต้องจบเนติบัณฑิต และต้องผ่านการสอบคัดเลือก จะได้รับค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด
6.พนักงานสอบสวน – อาชีพที่ต้องเป็นผู้มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน สอบสวนการกระทำความผิด ทำสำนวนส่งอัยการ ซึ่งต้องมีความแม่นยำด้านกฎหมายเป็นอย่างมาก หากสอบตรงเข้าเป็นพนักงานสอบสวน จะต้องจบ ป.ตรี นิติศาสตร์ หรือสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย และบางปีจะรับวุฒิเนติบัณฑิตด้วย ซึ่งได้รับค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด
7.อาจารย์นิติศาสตร์ – อาชีพที่ต้องมีหน้าที่สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือเป็นติวเตอร์ ฯลฯ มีตั๋วทนายหรือไม่ก็ได้ ส่วนเงินเดือนก็ตามประสบการณ์