Lazada

เตือนภัยสาวๆ “ช้อป-แชท ปลอดภัย” จากอาชญากรไซเบอร์

ช่วงนี้คุณๆ ต่างตื่นเต้นเตรียมพร้อมรับเทศกาลรื่นเริงที่กำลังใกล้เข้ามา อาชญกรไซเบอร์ก็เช่นกัน และความรื่นเริงของพวกนี้มักจะอยู่บนความทุกข์ของพวกเราๆ ชาวออนไลน์ ที่มักจะรู้ดัดแปลง แอบแฝงมัลแวร์มาผ่านฉากบังหน้ารูปแบบต่างๆ ที่เราคุ้นเคยใช้อยู่ประจำ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่ร้ายก็คือ พวกวายร้ายเหล่านี้ระบาดหนักในช่วงเวลาดีๆ อย่างนี้เสียด้วย

แคสเปอร์สกี้ แลป จึงได้รวบรวมภัยสังคมออนไลน์ที่ระบาดหนักช่วงเทศกาลรื่นเริง เพื่อให้คุณๆ สาวกออนไลน์ที่สนใจจะช้อป, แชท ได้เตรียมตัว รู้ทัน ระวังตัว จะได้สนุกกับการท่องโลกออนไลน์ได้อย่างรื่นรมย์

ฟิชชิ่งอาละวาดช่วงเทศกาล: ฟิชชิ่งตกเหยื่อด้วยเมสเสจข้อความหรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ ของคุณสาวๆ ควรระวัง มิจฉาชีพแนวนี้มาในหลายรูปแบบ เช่น

  • วิดิโอลูกโซ่ หรือ viral video: ให้ระวังวิดิโอที่ส่งต่อๆ กันมาซ้ำแล้วซ้ำอีก และมักจะมาพร้อมกับ ข้อความเดิมๆ ยิ่งถ้าบอกให้สาวๆ download an update for your media player” เพื่อเรียกดูวิดิโอแล้วด้วย ยิ่งแน่ใจได้เลยว่าต้องสงสัยไว้ก่อนเสี่ยงสองข้อดังต่อไปนี้ 1) เสี่ยงติดเชื้อมัลแวร์ระบาดเข้าเครื่อง 2) วิดิโอนี้ ที่จริงแล้ว เป็นวิดิโอหลอกเป็นฉากบังหน้า และจะแพร่กระจายรั่วต่อไปยังเครื่องของเพื่อนๆ ที่สาวๆ ติดต่อด้วย จากนั้นก็จะทำการล่อลวงด้วยวิธีเดียวกับที่ล่อให้คุณตกเป็นเหยื่อนั่นเอง
  • ส่งทวิตเตอร์ลุยตรงประชิดตัว: ข้อความที่พบบ่อยๆ เช่น “How to lose that holiday weight fast” หรือI found this picture of you from the holiday party” ที่มักจะพ่วงลิ้งค์ย่อๆ มาด้วย ซึ่งถ้าสาวๆ ไม่อยากเป็นเหยื่อก็ไม่ควรหลงเชื่อเปิดลิ้งค์เหล่านั้นโดยเด็ดขาด จนกว่าจะถามเพื่อนให้แน่ใจก่อนว่าเป็นคนส่งมาให้จริงๆ หรือไม่
  • เว็บไซต์แฝงกายขายของ: สาวๆ คงเคยได้รับเฟซบุ๊กหรือทวิตที่ฟีดข้อความโฆษณาเว็บไซต์มาถึงมือ ก็ขอให้สาวๆ คิดให้ดีก่อนจะคลิ๊กลิ้งค์ หรือให้ข้อมูลไปกับเว็บไซต์เหล่านั้นโดยไม่เช็คให้ดีเสียก่อน เพราะเว็บเพจปลอมสร้างขึ้นมาหลอกๆ นั้นทำได้ง่ายมาก วิธีสังเกต คือ จะมีคำที่สะกดผิด เช่น เราจะเห็นความแตกต่างในการสะกดของ BestBuy.com กับ BetsBuy.com เป็นต้น

แคมเปญลดราคาสุดยั่วยวนเกินห้ามใจ: ผู้ร้ายไม่มีวันหยุด อาชญากรไซเบอร์รู้ใจเป็นอย่างดี ว่าสาวๆ ทันสมัยชอบช้อปปิ้งยุคใหม่แบบชาญฉลาด ประหยัดทุกบาททุกสตางค์ในการจับจ่าย แล้วก็กลายมาเป็นช่องโหว่ให้ผู้ร้ายพวกนี้มาถือโอกาสฉ้อโกง ดังนี้

  • คำถามชิงรางวัลรับเทศกาล: คำถามชิงรางวัลมักจะถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ดูเหมือนง่ายๆ แต่มักวกมาเกี่ยวข้องกับตัวคุณเอง มีลูกล่อลูกชน เช่น “before you can receive your prize you must enter your credit card information for shipping costs” (ก่อนที่คุณจะได้รับรางวัลชิ้นนี้ คุณต้องกรอกข้อมูลเครดิตการ์ดของคุณเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งของ) เป็นต้น
  • สินค้าลดราคาสุดพิเศษ หรือแจกฟรี: เฟซบุ๊กสแกมที่ส่งออกมาล่อลวงสาวๆ ล่าสุด เกี่ยวกับการ์ดของขวัญสตาร์บั๊ก ที่เชิญชวนเฟซบุ๊กยูสเซอร์ให้โพสต์ข้อความต่อๆ กันไปแล้วจะได้รับการ์ดของขวัญมูลค่า 2,000 บาท หรือลุ้นรับ iPad ฟรีเป็นต้น
  • สร้างหลุมพลางรอตกเหยื่อโซเชียลออนไลน์: สาวๆ อย่าได้หลงวางใจข้อความโพสต์ เกม หรือกลุ่มต่างๆ ที่อยู่บน เฟซบุ๊ก เพียงเพราะมันดูจะปลอดภัยดีเท่านั้นไม่พอแน่นอนสำหรับความปลอดภัยข้อมูล กว่าจะรู้ตัวสาวๆ ก็หลุดเข้าไปในโลกของ สแปม หรืออาจจะแย่กว่านั้นก็ได้
  • โปรแกรมการกุศลชวนให้คลิ๊กกระหน่ำ: เชื่อเถอะว่าบรรดาเซเลปไม่ได้จะบริจาคเงินการกุศลตามจำนวน ‘like’ ที่ได้หรอก สาวๆ ที่คลิ๊กที่ข้อความนั้นเท่ากับได้ปล่อยให้ผู้ร้ายเข้ามา ไฮแจ็ค อคเค้านท์ของตัวเองเสียแล้ว สาวๆ ที่เริ่มต้นด้วยความหวังดี อยากช่วยสังคม ลงเอยด้วยการเป็นผู้แพร่ระบาดสแปมต่อไปยังเพื่อนๆ เสียเอง
  • โพทนาข่าวดีให้ผู้ร้ายย่องเบา: สาวๆ ที่ชอบอวดเพื่อนให้อิจฉาเล่นถึงทริปสุดหรูที่วางแผนไว้สำหรับช่วงวันหยุดบนเฟซบุ๊ก พอขโมยเห็นเข้าก็สบโอกาสดอดเข้าโจรกรรมได้ตามใจ พราะรู้เวลาแน่นอน ว่าเจ้าของบ้านจะกลับเมื่อไร
  • แอพเทศกาลวันหยุดและเกม: พึงระวังไว้ให้ดีเมื่อเห็น permissions request ปรากฎขึ้น ดูให้ดีก่อนจะกดหรือกรอกข้อมูลลงไป เพราะผู้ร้ายไซเบอร์อาศัยช่องทางนี้ในการหลอกล่อเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณ รับรองว่าชืนสาวๆ พลาดไป ผู้ร้ายสบายใจยิ้มรับปีใหม่แน่นอน

 

ทางป้องกันก่อนเพลี่ยงพล้ำตกเป็นเหยื่อ สาวๆ หรือจะเป็นหนุ่มๆ ชาวช้อปแชทออนไลน์ทั้งหลายก็พอมีทางที่จะป้องกันตนเองด้วยวิธีง่าย ให้ปลอดภัยในช่วงเทศกาลผู้ร้ายระบาดนี้ได้ไม่ยาก ดังนี้

  • พิมพ์ URL ลงในแอดเดรสบาร์เอง: เพียงไม่กี่แป้นกด สาวๆ ก็พิมพ์ URL ที่ต้องการเองแทนที่จะกดลิ้งค์ที่ถูกหยิบยื่นให้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, ร้านค้าช้อปปิ้งสุดโปรด ไม่ว่าจะเคยเข้าไปใช้บริการกี่ครั้งแล้ว ก็พิมพ์เองดีที่สุด คุณไม่มีทางรู้แน่นอนเลยว่าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ดูดีเหล่านั้นเป็นของจริงหรือหลอก
  • เสิร์ชข้อมูลบนเว็บอย่างปลอดภัย: สาวๆ สามารถเลือกใช้ทูลที่คอยทำหน้าที่เสมือนบอดี้การ์ดคอยดูแลเช็คกันการเพลี่ยงพล้ำหลงเข้าเว็บไซต์ปลอมได้ มีทูลให้เลือกเช่น Kaspersky’s URL Adviser
  • อัพเดทข่าวอยู่เสมอๆ: สาวๆ ที่มีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสไว้นั้นอย่าได้ลืมอัพเดทให้ใหม่เสมอๆ เป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียวที่จะคอยให้โปรแกรมสามารถคุ้มครองป้องกันเราได้ เพราะมีไวร้ส สแปม สแกมใหม่มาทุกนาที การอัพเดทก็เหมือนกัการที่เราคอยลับอาวุธของเราให้ทันสมัยนั่นเอง

 

และคำแนะนำที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ใช้สามัญสำนึก อะไรที่อ่านดูดีที่สุด ถูกที่สุด เลิศที่สุด จงระวัง จำไว้เลยว่าไม่มีของดีที่ไหนได้มาฟรีๆ