mobiledista.com

Asus Zenfone 6 : แฟบเล็ตตัวแรง ราคาเบาๆ ตอบสนองทุกความบันเทิง

Zenfone6_14

รีวิว Asus Zenfone 6 มาช้าหน่อย แต่ในที่สุดก็หาเครื่องมารีวิวจนได้ ก่อนหน้านี้คงได้ชมรีวิว Zenfone 4 และ Zenfone 5 กันไปแล้ว กระแสตบรับอย่างที่รู้ๆ กัน ไม่ว่าร้านไหน ทั้ง 3 รุ่นก็ขายดิบขายดี มีเงินอย่างเดียวใช่ว่าจะซื้อได้ บางคนขี้เกียจเดินหา จนหันมองรุ่นอื่นแทน

Zenfone 6 เองได้วางขายในบ้านเราไปเรียบร้อย ราคาอยู่ที่ 8,990 บาท โดยรุ่นนี้ใช้ซีพียู Intel Z2580 ความเร็ว 2.0 GHz เหมือนกับ Zenfone 5 ของไตหวัน ส่วนแรมก็ 2GB เป็นแฟบเล็ตที่มีขนาด 6 นิ้ว เหมาะกับคนที่ต้องการจอใหญ่ ประสิธิภพดี เน้นใช้งานด้านความบันเทิง ดูหนัง เล่นเกม เป็นหลัก

ข้อมูลสเปก Asus Zenfone 6

ข้อมูลสเปกเพิ่มเติม

Zenfone 6 มาพร้อมกับหน้าจอ IPS ขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด HD 1280 x 720 พิกเซล พร้อมด้วยกระจก Gorilla Glass 3 นอกจากนั้นยังรองรับการสัมผัสขณะใส่ถุงมือ (glove touch input), มีไฟแจ้งเตือน (LED Notification)

มี Proximity sensor สำหรับปิดหน้าจอแบบอัตโนมัติขณะสนทนา และ Ambient light sensor สำหรนับตรวจวัดระดับความสว่าง เพื่อปรับความสว่างของหน้าจออัตโนมัติ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แต่เเซ็นเซฮร์ตัวนี้มีปัญหาเรื่องการปรับแสงอัตโนมัติ ทำให้หน้าจอที่เปิดความสว่างแบบ Auto ดูมืดกว่าสภาพแวดล้อม แนะนำให้ปิด Auto แล้วเลื่อนแถบความสว่างหน้าจอเอง

กล้องหน้าของ Asus Zenfone 6 ให้มา 2 ล้านพิกเซล ถ่ายวีดีโอความละเอียด 1080p@30fps มีโหมดหน้าเนียน ตาโต คางเรียวมาให้, ส่วนปุ่มเป็นแบบสัมผัสจำนวน 3 ปุ่ม น่าเสียดายที่ไม่มีไฟ LED ตรงปุ่มมาให้ เวลาใช้งานที่มืดจะลำบากนิดนึง

ด้านบนเป็นช่องต่อหูฟังขนาด 3.5 มม. และ ไมโครโฟรตัวที่สอง ทำหน้าที่ตัดเสียงรบกวนเวลาโทรศัพท์

ด้านล่างมีช่องต่อ micro USB 2.0 สำหรับชาร์จแบต และโอนถ่ายข้อมูล ถัดไปเป็นไมโครโฟนสำหรับสนทนา

ด้านข้างส่วนที่หนาที่สุด 9.9 มิลลิเมตร ส่วนที่บางที่สุดอยคือบริเวณขอบเครื่อง มีความหนาอยู่ที่ 5.5 มิลลิเมตร น้ำหนักอยู่ที่ 200 กรัม ถือว่าใหญ่และหนักพอสมควร อาจจะพกพาลำบากนิดหนึ่ง เมื่อเทียบกับรุ่นน้องอย่าง Zenfone 4 และ Zenfone 5

ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียงของ Asus Zenfone 6 อยู่ติดกับปุ่ม Power สำหรับเปิด-ปิด เวลาแคปเจอร์หน้าจอต้องกดปุ่ม Power และปุ่มลดเสียงพร้อมกัน ทำให้ใช้งานไม่ถนัดเท่าที่ควร อีกทั้งตัวเครื่งที่มีขนาดหน้าจอ 6 นิ้ว ถ้าถือมือขวาต้องกดปุ่มด้วยนิ้วโป้ง ก็จะลำบากนิดนึง ถ้าถือมือซ้ายก็ใช้นิ้วชี้กด ซ฿่งก็ลำบากพอกัน แต่ถือข้างขวาจะกดง่ายกว่าข้างซ้าย (ถ้าขบัยปุ่มลงมาอีกนิดจะสะดวกขึ้นอีกมาก)

ฝาหลังของ Zenfone 6 เป็นพลาสติกผิวด้าน ช่วยให้จับถนัดมือกว่าพิวลื่น หรือมันวาว แต่เกิดรอยง่ายกว่า กล้องหลังให้มา 13 ล้านพิกเซล มี Auto focus, LED flash, รูรับแสง f/2.0, เซ็นเซอร์ BSI รองรับถ่ายวีดีโอความละเอียด 1080p@30fps พร้อมด้วยฟีเจอร์ PixelMaster

โดยเจ้าเทคโนโลยี PixelMaster ช่วยให้ภาพที่ถ่ายในที่แสงน้อยสว่างขึ้น 400% ลดความหยาบของภาพ และยังเพิ่มสีสันค่าคอนทราสมากถึง 200%

Asus Zenfone 6 สามารถแกะฝาหลังได้ แต่ไม่สามารถถอดแบตเปลี่ยนเองได้ รองรับการใช้งาน 2 ซิม รองรับ 3G ทุกคลื่นในไทย ทั้ง 850/900/2100 ใช้งาน 3G ได้ทั้งสองซิม แต่เปิดใช้งาน 3G ได้ทีละซิม ถ้าเปิดซิมหนึ่ง อีกซิมจะใช้งานได้แค่ 2G คือ GPRS/EDGE

ซึ่งทั้งสองซิมจะเป็นแบบ micro SIM เท่านั้น นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่ม microSD ได้ด้วย

ซอฟท์แวร์บน Asus Zenfone 6

Asus Zenfone 6 มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 4.3 Jelly Bean ตามกำหนดการที่ Asus ประกาศว่าตระกูล Zenfone จะได้รับอัพเกรดเป็น Android 4.4 Kitkat แน่นอน รอลุ้นช่วงเดือนสิงหาคมครับ ส่วนตัวคิดว่าคงออกอัพเดทมาสุดแค่ Kitkat หลังจากนั้นก็คงส่งขึ้นแพ ปัญหาหลักๆ ที่เจอจากการใช้งาน Zenfone 6 ก็มีดังนี้

อินเตอร์เฟส ZenUI ที่ Asus พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยออกแบบเน้นในการใช้งาน เรียบง่าย ลดความซับซ้อน ที่สำคัญในแง่การใช้งานยังลื่นไหล ตอบสนองไว สลับแอพไปมาลื่นพอสมควร แต่ยังด้อยกว่า Zenfone 5 ความรู้สึกตอนแรก ที่ได้ลองใช้งานรู้สึกประทับใจครับ นอกจากจอใหญ่แล้ว ซอฟท์แวร์ยังตอบสนองได้เร็ว ลื่นพอสมควร

Zenfone 6 ใมีหน่วยความจำภายใน 8GB เหลือให้ใช้งานได้ 5GB และรองรับการเชื่อมต่อแบบ MTP

ระบบ Notification และ Toggle panel ที่สามารถเลือกเปิดและปิดคียลัดที่ต้องการได้ หลักการเรียกใช้งานก็เหมือนแอนดรอยด์ทั่วไป ลากจากบนลงล่าง ถ้าลากจากฝั่งซ้ายเป็นการเปิด Notification และลากฝั่งขวาเป็นการเปิด Toggle panel

สามารถตั้งค่าได้ว่าแอพพลิเคชั่นใมห่ๆ จะติดตั้งไว้ที่ไหน ในหน่วยความจำมือถถือหรือ microSD, มี Glove Mode เปิดถ้าต้องการให้ใช้งานในขณะะส่วมถุงมือ, รองรับ Flip Cover ก่อนใช้งานก้ต้องเปิดฟังก์ชั่นนี้ก่อน นอกจากนั้นยังมี โหมดสำหรับการอ่านมาให้ (ช่วยถน่อมสายตา) เมื่อเปิดดฟังก์ชั่นนี้สีของหหน้าจอจะออกโทนสีเหลือง สามารถเลือกได้ว่าจะเอาโทนสีที่เหมาะกับการอ่านนานๆ หรือเอาโทนสีที่เหมาะกับการดูภาพและอ่านตัวหนังสือไปพร้อมกัน

เมนูตั้งค่าสำหรับการใช้งาน 2 ซิม อย่างที่ทราบว่ารุ่นนี้สามารถใช้งาน 3G ได้ทั้ง 2 ซิม แต่ใช้งานได้่ทีละซิม จะใช้ 3 ซิมซิมไหน ให้ตั้งค่าเปิดใช้งาน 3G ที่ซิมนั้น โดยตั้งค่าได้ที่เมนู Network mode เปิดใช้งาน 3G อีกซิมจะเป็น 2G ทันที

Easy mode คือโหมดสำหรับใช้งานอย่างง่าย เหมาะสำหรับเวลาขับรถ ไอคอนแอพจะใหญ่กว่าปกติ สามารถเลือกแอพที่ต้องการใช้งานเพิ่มได้

What’s Next ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตารางนัดหมายต่างๆ ถ้าเราใส่สถานที่เข้าไป จะมีการพยากรณ์อากาศเข้ามาด้วย เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นที่ผมชอบมาก ช่วยให้การจัดตารางนัดหมาย และการวางแผนเดินทางของผมสะดวกขึ้น สามารถลาก Widget มาไว้ที่ Home Screen เมื่อถึงเวลาก็มีแจ้งเตือนและแนะนำสภาพอากาศให้ด้วย ถ้าฝนตกก็มีแจ้งเตือนให้เราพกร่มด้วย

Do It Later เป็นแอพสำหรับคนที่ชอบพูดว่า เดี๋ยวค่อยทำ เวลาเจอเว็บน่าสนใจแต่ยังไม่อยากอ่านตอนนั้ก็เก็บไว้ก่อนเดี๋ยวค่อยอ่าน แอพนี้จะช่วยตอบสนองคนชอบเดี๋ยวอย่างผม (น่าเสียดายที่ใช้ได้กับบางแอพเท่านั้น) เมื่อวางก็ตามอ่านทีหลัง เมื่ออ่านเสร็จรายการดังกล่าวก็จะหายไปทันที

ฟีเจอร์กล้อง

แม้จะไม่ใช่เรือธง แต่จัดเต็มมากชัตเตอร์ทำงานได้เร็วเลยทีเดียว กดแล้วถ่ายเลย สามารถแตะที่จอเพื่อเลือกจุดโฟกัส และมีการวัดแสงและปรับแสงเร็วเลยทีเดียว นอกจากนั้นยังใส่ฟีเจอร์กล้องมาให้เพียบ 13 โหมด มีที่น่าสนใจหลายตัวเลย อาทิ Selfie ด้วยกล้องหลัง สามารถเลือกจำนวนได้ว่าจะถ่าย Selfie กี่คน (มากกว่า 4 คนก็ได้), Low Light การถ่ายภาพในที่แสงน้อย, Depth of field การถ่ายหน้าชัดหลังเบลอ, Smart Remove ลบคนที่เคลื่อนไหวออกจากภาพ, Time rewind ถ่ายภาพทีละหลายๆ ภาพ แล้วเลือกรูปภาพที่ดีที่สุด, Beautification โหมดถ่ายหน้าเนียน ตาโต คางเรียว

ทดสอบประสิทธิภาพ

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก Zenfone 6

แกลอรี่ Zenfone 6

Exit mobile version