Lazada

[PR] ปฏิวัติวงการก่อสร้างไทย ออโตเดสก์ดึง BIM ตีตลาดรองรับ AEC

DSCF5284_1

มร.เจียนลูก้า แลงก์ ผู้จัดการด้านอุตสาหกรรมประจำภูมิภาคอาเซียน ออโตเดสก์ ร่วมด้วยคุณฉัตรชาญ สุทธิพิศาล ผู้จัดการประจำประเทศไทย ออโตเดสก์ ประเทศไทยได้ให้สัมภาษณ์ ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์อุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทยว่ากำลังเริ่มพัฒนาไปสู่ยุคใหม่ที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง BIM (Building Information Modeling) หรือ แบบจำลองข้อมูลอาคาร มาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน เนื่องจากวิศวกรและสถาปนิกของประเทศไทยมีศักยภาพสูงเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ถ้าหากคนไทยยังไม่หยุดพัฒนาและศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ

โดย มร.เจียนลูก้า แลงก์ ได้กล่าวอธิบายถึง BIM (Building Information Modeling )  หรือ แบบจำลองข้อมูลอาคารว่าเป็นกระบวนการออกแบบอันชาญฉลาดที่เพิ่มมูลค่าให้กับวงจรของโครงการก่อสร้างและโครงการโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด การพัฒนาการอันรวดเร็วของเทคโนโลยี BIM กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของทีมงานโครงการสถาปัตยกรรม วิศวกรรมและการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อสามารถทำงานร่วมกันในการออกแบบที่ซับซ้อนและสร้างอาคารให้ดีขึ้น โดยใช้ต้นทุนที่น้อยลง รวมไปถึงช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานซ้ำซ้อนอีกด้วย

ซึ่งขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 2 ปีก็จะถึงเวลาการเริ่มต้นของประชาคมอาเซียนแล้ว ทางภาครัฐและเอกชนเองก็มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ รวมไปถึงมีการจัดทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานมากมาย การทำดิจิตอลโมเดลจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนการออกแบบและวางแผนการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งซอฟต์แวร์ของทางออโตเดสก์ก็สามารถรองรับต่อความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถป้อนข้อมูลวัสดุการก่อสร้างหรือภูมิอากาศเข้าไปในโปรแกรม ซึ่งทางโปรแกรมก็จะคำนวณเป็นผลลัพท์ออกมาให้เห็นได้ทันทีผ่านทางระบบคลาวด์ที่สามารถเปิดดูผ่านทางไอแพด, ไอโฟน หรือทางสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา การทำเป็นโมเดลดิจิตอลก่อนจะมีการก่อสร้างจริงจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

“ในส่วนของ AEC ที่กำลังจะเริ่มต้นในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยเองก็มีบุคลากรที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการต่อสู้กับคู่แข่งจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนแล้ววิศวกรและสถาปนิกของประเทศไทยถือว่ามีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด แต่อาจจะต้องปรับปรุงในเรื่องของการประยุกต์ใช้และต้องก้าวตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทันอยู่เสมอจึงจะสามารถใช้จุดนี้มาเพิ่มจุดแข็งให้กับวงการวิศวกรรมของประเทศไทย การทำดิจิตอลโมเดล 3D นี้ ทวีปยุโรปได้ใช้เป็นกระบวนการหนึ่งในการก่อสร้างตึกและสิ่งก่อสร้างต่างๆ อีกทั้งเมืองซานฟรานซิสโกยังได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในการจำลองผังเมืองทั้งเมืองอีกด้วย โดยในประเทศไทยได้เริ่มมีการนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยธุรกิจอสังหาฯ บางแห่งแล้ว และคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในไทยมากยิ่งขึ้นในอนาคต” มร.เจียนลูก้ากล่าว

ทางด้านคุณฉัตรชาญกล่าวว่า “ล่าสุดทางออโตเดสก์ประเทศไทยได้จับมือบริษัท M Technologies (Thailand) Ltd., (MTECH) พาร์ทเนอร์ชิพรายใหม่ซึ่งจะเน้นความชำนาญในด้าน Engineering & Structuring มาให้บริการกับลูกค้าในภาควิศวกรรมและการก่อสร้าง เตรียมรับมือกับ AEC ในปี 2558 ที่จะถึงนี้”