Lazada

[PR] แอลจี เผยทุกแง่มุมความสุขของคนกรุงเทพฯ พร้อมเทรนด์เทคโนโลยี

Life's good Poll_Biz_re

Life’sGood Poll แบบสำรวจความสุขของคนกรุงเทพมหานครโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด และสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยผลสำรวจความสุขในแง่มุมต่างๆ พร้อมทัศนคติ พฤติกรรม รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสุขของคนกรุงเทพฯ ในปี 2555 อีกทั้งปัจจัยที่จะส่งผลต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวเผยว่า หากกรุงเทพฯ มีการให้บริการสัญญาณ Wi-Fi ฟรีและแรงครอบคลุมทุกพื้นที่ จะช่วยให้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ มีความสุขมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามยังเชื่อว่าโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ช่วยเติมเต็มชีวิตให้มีความสุขมากขึ้น

Life’s Good Poll ดำเนินการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างชายและหญิง อายุระหว่าง 20–45 ปี จำนวน 1,037 คน ในเขตธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา

คุณธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการจัดทำ Life’s Good Poll ในครั้งนี้ว่า “แอลจีให้ความสำคัญกับการเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยอย่างลึกซึ้ง ที่ผ่านมา นอกจากเราจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ พร้อมด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ดีไซน์ที่ล้ำสมัย และคุณภาพที่ไว้วางใจได้แล้ว เรายังคำนึงถึงคุณค่าด้านจิตใจที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ของแอลจี ด้วยเป้าหมายว่าผู้บริโภคจะต้องมีความสุขที่เกิดจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ มากที่สุด”

“แอลจีจึงได้ร่วมกับสวนดุสิตโพลจัดทำการสำรวจนี้ขึ้น เพื่อวัดระดับความสุขและศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของคนกรุงเทพฯ รวมถึงบทบาทของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และความสุขของคนกรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากจะทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา ข้อมูลที่ได้ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการที่จะช่วยเสริมสร้างความสุขและนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ตามปณิธานของแอลจีในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น หรือ Life’s Goodนั่นเอง”

Life’s Good Pollเผยผลสำรวจด้านทัศนคติของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งส่งผลต่อชีวิตที่มีความสุขว่า คนกรุงเทพฯ ยกให้โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มให้ชีวิตมีความสุขเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 32) ในขณะที่โทรทัศน์และโน้ตบุ๊คเป็นอันดับรองลงมา (ร้อยละ 24 และ 19 ตามลำดับ) นอกจากนี้  คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่เชื่อว่าเทคโนโลยีที่จะช่วยให้พวกเขามีความสุขมากขึ้น คือการมีสัญญาณ W-iFi ฟรีและแรงครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ

คนกรุงเทพฯที่ร่วมการสำรวจใน Life’s Good Poll ยังเชื่อว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าและแก็ดเจ็ตทั้งหลายช่วยให้ชีวิตง่าย สะดวกมากขึ้น (ร้อยละ 35) ในขณะที่เทรนด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คนกรุงเทพฯ ต้องการคือ มีราคาที่เหมาะสม (ร้อยละ 36) รวมถึงการมีคุณภาพที่ดี ทนทานและใช้งานง่าย (ร้อยละ 20, 18 และ 11 ตามลำดับ)

เมื่อถามถึงทัศนคติด้านความสุขของตนเองและสังคม คนกรุงเทพฯที่เข้าร่วมใน Life’s Good Pollเชื่อว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพเป็นปัญหาสังคมที่จะส่งผลต่อชีวิตให้มีความสุขมากยิ่งขึ้น หากได้รับการแก้ไข (ร้อยละ 32) รองลงมาคือปัญหาด้านการเมือง คอร์รัปชั่น และความสามัคคีภายในชาติ (ร้อยละ 16 เท่ากัน)

และสำหรับประเด็นเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ซึ่งจะส่งผลต่อคนไทยในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ปรากฏว่ามีถึงร้อยละ 35 เชื่อว่าคนไทยจะเสียเปรียบมากกว่า เพราะแรงงานต่างชาติจะเข้ามาแย่งแรงงานไทย และมีถึงร้อยละ 12 ไม่รู้จักและไม่รู้เลยว่า AEC จะส่งผลต่อคนไทยอย่างไร โดยจำนวนที่เหลือเชื่อว่า AEC จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และช่วยให้แรงงานไทยทำงานต่างประเทศได้มากขึ้น

ผลสำรวจของ Life’s Good Poll เผยว่าความสุขในภาพรวมของคนกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.37 โดยคนที่คิดว่าตนเองมีความสุขมากถึงมากที่สุดมีเพียงร้อยละ 7 มีความสุขปานกลาง ร้อยละ 54 และน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 39 เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ กลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุดคือ 20-25 ปี ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่านิยามของชีวิตที่มีความสุขนั้นแตกต่างกันตามช่วงอายุ โดยคนกรุงเทพฯ อายุ 30 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 26) เชื่อว่าชีวิตที่มีความสุขคือ การมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ ในขณะที่กลุ่มหนุ่มสาวอายุ 20-25 ปี (ร้อยละ 23) จะมีความสุขหากได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและใช้ชีวิตตามที่ต้องการ นอกจากนี้ การมีเพื่อนร่วมงานที่ดีกลับมีความสำคัญต่อความสุขในการทำงานของคนกลุ่มนี้ มากกว่าความก้าวหน้าในหน้าที่การงานซึ่งส่งผลต่อความสุขของกลุ่มคนอายุ 36 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 25)

“ความสำเร็จจากการจัดทำ Life’s Good Poll โพลในครั้งนี้ ทำให้แอลจีวางแผนที่จะขยายพื้นที่ในการดำเนินการสำรวจในอนาคต เพื่อศึกษาทัศนคติ มุมมอง และความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่อื่นๆ นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะช่วยยกระดับความสุขของคนไทยให้เท่าเทียมกัน” คุณธันยเชษฐ์กล่าว