[Special Scoop] บินข้ามฟ้าตะลุยโรงงาน Oppo!! ดูกระบวนการผลิตสมาร์ทโฟนจากจีน

กว่าจะปั้น Smartphone แบรนด์ๆ หนึ่งให้คนเชื่อใจได้นั้น ต้องใช้เวลานานมากนัก แน่นอนว่าแบรนด์ที่ชื่อว่า Oppo แบรนด์นี้ก็เหมือนกันครับ การที่จะสร้างความเชื่อใจให้เหล่าผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า คุณภาพสินค้าของเค้าดีจริง หรือว่าดีพอที่จะให้ผู้ใช้อย่างเราวางใจได้หรือไม่ มันต้องใช้เวลา และการที่จะทำให้คุณภาพสินค้าดี แน่นอนว่าจะต้องมีกระบวนการผลิตเครื่องที่ได้คุณภาพ แต่กระบวนการนี้มันเป็นกระบวนการเบิ้องหลังที่ผู้เลือกซื้ออย่างเราไม่มีวันได้เห็นได้แน่ ทาง Oppo จึงได้พาสื่อจากเว็บไซต์ต่างๆ ไปเยี่ยมชมโรงงาน เพื่อดูกระบวนการผลิตเครื่อง Smartphone ที่ว่านี้กันครับ และแน่นอนว่าทีมงาน Mobiledista ก็ได้เข้าร่วมทริปในครั้งนี้ด้วย เรามาดูกันดีกว่า ว่ากระบวนการนี้นั้นเป็นอย่างไรบ้าง พอดีเห็นแล้ว ผมมั่นใจว่าความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ๆ นี้จะมีสูงขึ้นอีกมากอย่างแน่นอน

การทัวร์โรงงานในรอบนี้ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงครับ โดยช่วงแรกจะเป็นการเข้าห้องประชุมเพื่ออธิบายเกี่ยวกับโคงสร้าง และทิศทางของบริษัทแบบละเอียด ซึ่งส่วนนั้นผมอาจจะต้องขอเวลาอีกซักนิด เรียบเรียงคำพูดออกมาอธิบายดีๆ ให้เข้าใจกันง่ายๆ กันก่อนดีกว่า แต่ที่จะพามาดูในวันนี้ก็คือ ตัวขั้นตอนการผลิตเครื่อง Smartphone ของ Oppo ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนพอสมควร และมีขั้นตอนอยู่มากมายนับไม่ถ้วน เรามาดูกันเลยดีกว่า

ในการชมโรงงาน Oppo ในครั้งนี้ ทางทีมงาน Oppo ได้พาคณะของเราเดินชมโรงงานไปทีละห้องครับ เริ่มจากห้องแรก

[accordion title=”ห้องทดสอบสัญญาณในสภาวะที่มีสิ่งรบกวน”]

ในห้องแรกนี้จะเป็นห้องสำหรับทดสอบสัญญาณของโทรศัพท์ครับ โดยที่ในห้องจะมีตู้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตู้หนึ่ง ในห้องก็จะมีแท่นวางเครื่องโทรศัพท์เอาไว้ รอบๆ ก็จะมีสิ่งกีดขวางรูปร่างคล้ายหนามที่มีไว้สำหรับรบกวนสัญญาณอยู่เต็มไปหมด และในห้องนี้จะมีจุดปล่อยสัญญาณเพียงจุดเดียวที่คอยส่งสัญญาณโทรศัพท์ไปยังเครื่องที่กำลังทดสอบอยู่ โดยจุดส่งสัญญาณจะอยู่หางออกจากแท่นวางประมาณ 10 เมตรครับ

จุดปล่อยสัญญาณ

ในระหว่างที่กำลังทดสอบสัญญาณเครื่อง เราจะต้องปิดประตูห้องนี้ให้สนิท แล้วก็เริ่มทดสอบ โดยการยิงสัญญาณ และดูผลการทดสอบได้จากเครื่องตัวนี้เลย

การทดสอบสัญญาณจะทำในหลายสภาวะมากครับ โดยกำหนดสภาวะจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราเจอกันในชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องสิ่งกีดขวาง หรือว่าระยะทาง และข้างล่างนี้ก็คือตัวอย่างผลที่เราเห็นได้จากเครื่องนี้ครับ

[/accordion][accordion title=”ห้องประกอบ Smartphone”]

ในห้องที่สองนี่แหละห้องที่เป็นห้อวหลักห้องหนึ่งในกระบวนการผลิต Smartphone เลย ในเสียดายไปนิดที่ห้องนี้เค้าไม่ให้ถ่ายรูปครับ ผมจึงไม่สามารถเอาภาพมาให้เพื่อนๆ ดูกันได้ แต่ก็พอจะอธิบายกระบวนการผลิตให้เพื่อนๆ ได้พอรู้กันนิดนึง

ก่อนที่จะเข้่าไปในห้องก็ต้องสวมชุดกันฝุ่นกันนิดหน่อย (นายแบบของเราก็เพื่อนๆ จากเว็บเพื่อนบ้านนี่แหละ) ห้องนี้เค้าจะค่อนข้างซีเรียสเรื่องฝุ่นมากเลยทีเดียวล่ะครับ ก่อนที่จะเข้าห้องก็ต้องผ่านห้องที่มีเครื่องดูดฝุ่นขนาดยักษ์ เพื่อกำจัดเศษต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราออกไปก่อนด้วย

 

ในขั้นตอนการประกอบ Smartphone บ มีทั้งในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ Oppo สามารถผลิตชิ้นส่วนได้เอง และส่วนของการประกอบเครื่อง แน่นอนครับว่าการประกอบเครื่องนั้นมีความละเอียดอ่อนมากจนไม่สามารถประกอบเครื่องด้วยเครื่องจักรได้ ทุกไลน์จึงต้องใช้คนงานในการประกอบเครื่องด้วยมือเองทั้งหมด

ทาง Oppo เค้าจะมีไลน์การประกอบเครื่องมากกว่า 30 Line เลยทีเดียว แต่ละไลน์ก็จะมีคนยืนเรียงกันประมาณ 20 – 30 คน คอยประกอบเครื่องตั้งแต่ชิ้นส่วนแรก ยันชิ้นส่วนสุดท้าย เริ่มจากคนแรกจะเป็นคนประกอบตัววงจรชิ้นแรกเข้ากับบอร์ดก่อน จากนั้นก็ส่งต่อให้คนต่อไปประกอบชิ้นส่วนชิ้นต่อไปไปเรื่อยๆ ทั้งเลนส์กล้อง accelerometer ช่องใส่ซิม ฯลฯ จนถึงประมาณกลางๆ แถว ตัวบอร์ดก็จะถูกประกอบจนเสร็จ และถูก Flash Rom ลงไปให้เรียบร้อย

แต่เท่านั้นยังไม่จบ คนต่อๆ ไปก็จะทำการประกอบชิ้นส่วนเสริมอื่นๆ ลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็จะได้ Smartphone ที่สมบูรณ์ออกมา ส่งมาให้คนที่ท้ายแถวที่ดูแล้วจะใส่เสื้อสีต่างจากคนงานคนอื่นๆ ทุกคน เหมือนเป็นลิเบอโร่ในกีฬาต่างๆ หรือคนที่มีหน้าที่พิเศษจากใครนั่นเอง คนๆ นี้จะมีหน้าที่ทดสอบการทำงานของเครื่องแบบคร่าวๆ โดยจะสุ่มตรวจเครื่องประมาณส่วนหนึ่ง ก่อนที่จะส่งต่อไปให้อีกคนหนึ่งแพคเครื่องใส่กล่องให้เรียบร้อยนั่นเอง

ในห้องนี้เราได้เห็นกันทั้ง Oppo Find 3, Oppo Find Gemini, Oppo Find Guitar รวมทั้ง Smartphone ตัวอื่นๆ รวมทั้งรุ่นที่วางขายเฉพาะในจีน ถูกประกอบขึ้นมามากมายกันเลยทีเดียวล่ะครับ

ห้องทดสอบเครื่องในสภาพภูมิอากาศต่างๆ

 

ในการใช้งาน Smartphone เราจะต้องใช้มันในสภาพภูมิอากาศต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะครับ? มีทั้งอากาศร้อน อากาศหนาว หิมะตก ฝนตก แดดออก หากว่าเครื่อง Smartphone ไม่ดีพอ คงจะทำงานในสภาพอากาศที่ต่างๆ กันไม่ได้แน่ ทำให้เราอาจไม่กล้าพกเครื่องไปไหนเวลาเจอสภาพอากาศที่แย่ๆ แต่เครื่องของ Oppo นั้น ความจริงแล้วได้รับการทดสอบใช้งานในสภาพอากาศต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในโรงงานแล้วล่ะครับ ทั้งอากาศแบบร้อน แบบชื้น หรือว่ามีไอน้ำในอากาศ เครื่อง Oppo ก็ได้ถูกทดสอบมาหมดแล้ว ผ่านเครื่องจำลองการทดสอบในรูปข้างล่างนี้แหละ

 

 

เครื่องทดสอบนี้จะมีอยู่ 2 ห้องครับ อีกห้องหนึ่งจะอยู่ในส่วนของกระบวรการทดสอบคุณภาพ QC ในตอนท้ายๆ ซึ่งผมเอารูปขึ้นมาให้ดูกันก่อนเลยดีกว่า ลองดูครับว่าอุณภูมิที่เค้าทดสอบเครื่อง Smartphone กัน มันร้อนแรงแค่ไหนเชียว

 

เห็นตัวเลขแล้วรู้สึกสงสารน้อง Smartphone เค้ามั้ยล่ะครับ ลองคิดดูว่าในการทดสอบเครื่อง เค้าจะเปลี่ยนอุณหภูิมไปเรื่อย จากตอนแรกสูงถึง 25 องศาเซลเซียส จากนั้นก็จะลดอุณหภูมิลงมาเหลือ -25 องศาเซลเซียส และสลับกันไปแบบนี้เรื่อยๆ จนจบผลการทดลอง เพื่อดูว่าเครื่องยังสามารถทำงานได้อยู่มั้ย โหมั้ยล่ะครับ!? เห็นแบบนี้แล้ว ถ้าทดสอบผ่าน ก็มั่นใจได้เลยว่าในสภาวะอากาศที่ร้อนโคตรๆ แบบในบ้านเรา เครื่องก็ยังทำงานได้สบายเลยล่ะ

[/accordion][accordion title=”ห้องทดสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”]

ในห้องนี้จะมีการทดสอบครับว่า ตัวเครื่อง Smartphone หากว่ามีการถูกทำลาย จะมีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมมากแค่ไหน เพื่อที่ทาง Oppo จะได้นำผลการทดสอบไปปรับกระบวนการผลิตต่อไป เพื่อให้ตัวเครื่องเมื่อผลิตออกไปแล้ว เมื่อถูกไปทำลาย จะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในห้องนี้เราก็ได้เห็น Oppo เอาทั้งฝาหลังหรือว่าชิ้นส่วนต่างๆ มาทดสอบด้วยสารเคมีต่างๆ หรือว่าลองเผาให้เห็นกัน เพื่อดูกระบวนการทำลายของมันกันครับ

ส่วนด้านล่างในก็รูปของการทดสอบตัววัสดุของเครื่องในส่วนของบอร์ด ว่าถูกเผาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนนี่ก็ทดสอบเอาตู้ฝาหลังไปแช่ในตู้ที่มีกลิ่นแรงมากคล้ายกำมะถัน

[/accordion][accordion title=”ห้องทดสอบกล้อง”]

ในห้องนี้เราจะเห็นรูปคล้ายกับรูปที่ใช้วัดสายตาติดอยู่ที่ฝาผนังอยู่ มันไม่ได้ใช้วัดสายตาของคนนะครับ แต่ใช้วัดสายตาของกล้องแทน 

 

รูปข้างล่างนี่แหละ คือรูปที่ใช้วัดกล้อง ลองหยิบเอา Smartphone ของเพื่อนๆ ขึ้นมา แล้วเปิดกล้องส่องรูปนี้ดู จะเห็นเส้นในรูปเหมือนขยับได้ ดูหลอกตา


ส่วนเครื่องในรูปข้างล่างนี้ก็เป็นเครื่องสำหรับทดสอบในห้องนี้ครับ

 

[/accordion][accordion title=”ห้องทดสอบแบตเตอรี่”]

สำหรับใครที่เคยคิดว่าเครื่อนจีนไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ และเคยเห็นข่าวเรื่องเครื่องโทรศัพท์ของจีนระเบิดบ่อยๆ เชื่อได้เลยครับ ว่าเหตุการณ์แบบนั้นจะเกิดขึ้นกับเครื่อง Oppo ยากแน่นอน เพราะเค้ามีการทดสอบเพื่อป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ค่อนข้่างหลายวิธีมาก

 

ไล่ตั้งแต่การทดลองจ่ายพลังงานแบบต่อเนื่อง หรือการทดสอบจ่ายพลังมากๆ เพื่อให้แบตเตอรี่เกิดอาการร้อน เรียกว่าทดสอบกันหลายวิธีจนแบตแทบไหม้กันไปข้างเลย

 

ตู้ทดสอบตัวนี้เป็นการทดสอบให้ความร้อนเช่นกัน ซึ่งทาง Oppo บอกว่าตู้ตัวนี้ต้องทำการล็อคให้แน่นหนาด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดเหตุการณ์ระเบิดจนเศษข้างในกระจายออกมาและเป็นอันตรายได้ Oppo เค้าทดสอบในเครื่องนี้นี่แหละครับ ทดสอบและปรับปรุงโปรดัคของตัวเองกันจนทำให้มั่นใจว่าจะเกิดอาการระเบิดได้ยากมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แบบนี้แหละผมถึงบอกว่าอุ่นใจได้เลย อาการระเบิดเกิดยากขึ้นแน่นอน

 

 

 

 

 

[/accordion][accordion title=”ห้องทดสอบสภาพแวดล้อม”]

 

พอเข้ามาในห้องนี้แล้วก็จะเห็นคนงานในโรงงานนั่งอยู่เต็มไปหมด แต่ละคนก็จะถือเครื่อง Smartphone คนละอย่างน้อย 1 ตัว และกำลังนั่งลองเล่นเครื่องกันอย่างใจจดใจจ่อ แต่ละคนก็ลองใช้งานเครื่องไปเรื่อยตามสไตล์ของตัวเอง ไม่มีใครบังคับว่าให้ทำอะไร เหมือนเป็นการทดสอบการใช้งานเครื่องในสภาวะจริงแบบคร่าวๆ ส่วนบางคนที่ไม่ได้นั่งเล่นโทรศัพท์ก็นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งที่โต๊ะของตัวเอง เพื่อทำงานตามหน้าที่ของตัวเองอยู่

ระหว่างที่กำลังมองดูไปรอบๆ ห้องอยู่นั้น ก็มีสมาชิกในกรุ๊บทัวร์ครั้งนี้ทักขึ้นมาว่า “ดูนั่นสิ พนักงานคนนั้นมาจากเว็บ Mobiledista รึเปล่า” ผมก็แอบเอะใจนิดหน่อย Mobiledista ก็มีผมมาคนเดียวนี่ หรือว่าจะแอบมีเพื่อนคนไหนในเว็บแอบมาทำงานที่นี่ไม่บอกให้ผมรู้รึเปล่า ทันใดที่ผมหันไปมองในทางที่เสียงนั้นบอกให้หันไปดูก็พบว่า “อ้าว นี่มันคู่แฝดของ @krapalm รึเปล่านี่?” หน้าคล้ายกันแบบสุดๆ สงสัยที่ว่ากันว่าโลกนี้จะมีคนหน้าตาเหมือนกับเราอย่างน้อย 1 คนท่าจะเป็นความจริง ว่าแล้วก็จับตัวจริงมาเทียบกันดูซะเลย

เหมือนมั้ยล่ะครับ??

ขออภัยนิดนึงที่ออกนอกเรื่องไปซะหน่อย เรามาทัวร์โรงงาน Oppo กันต่อเลยดีกว่า ในห้องนี้แหละครับที่มีการนำเอา Smartphone มาทดสอบในสภาวะที่มีการเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว จาก 75 องศาเซลเซียสไปเป็นติดลบ แต่ขออธิบายเพิ่มนิดนึงเรื่องการทดสอบ จะมีเครื่องอีกตัวหนึ่งที่เป็นเครื่องจำลองสภาพอากาศเช่นเดียวกัน โดยในเครื่องนี้สามารถปรับสภาพอากาศได้ทั้งแบบชิ้น แบบร้อน หรือว่าสภาพอื่นๆ ที่ต้องการใช้สำหรับทดสอบเครื่อง ระหว่างการทดสอบพนักงานก็สามารถยื่นมือเข้าไปลองกดทดสอบเครื่องกันได้เลย

ห้องนี้มีการทดสอบเครื่องค่อนข้างหลายวิธีมากครับ ต่อมานี้คือการทดสอบสภาพเครื่องจากภาวะที่ถูกกลิ้งไปมาแบบต่อเนื่อง ในหนึ่งเครื่องที่ถูกนำมาทดสอบ ก็จะถูกกลิ้งอยู่อย่างนี้ประมาณ 800 รอบเลยทีเดียวครับ แน่นอนครับว่าเครื่องที่ถูกนำมาทดสอบนี้ ไม่ได้ถูกนำเอาออกมาขายจริงหรอก ตัวเครื่องที่ถูกทดสอบ จะถูกสุ่มออกมาแค่ไม่กี่เครื่องเท่่านั้น และหลังจากที่ทดสอบเสร็จ เครื่องที่ถูกทดสอบก็จะถูกทำลายทิ้งไป ลองกลิ้งเครื่องแบบนี้กับเครื่องที่วางขายจริงๆ สิ มีคนโกรธตายแน่


การทดสอบอย่างอื่นก็เช่น การทดสอบบีบเครื่องและทดสอบแรงกระแทกที่เครื่องด้านข้าง แบบคร่าวๆ

หรือว่าเครื่องที่ใช้สำหรับจำลองการนั่งทับของคนที่ใส่กางเกงยีนส์ โดยใช้แรงกดเท่ากับแรงที่เกิดจากการกดทับขณะที่เรานั่งกันเลย

 

ส่วนกระบวนการในภาพข้างล่างนี้ก็คือการทดสอบความร้อนของเครื่อง ในขณะที่ใช้งานเครื่องหนักๆ ตำแหน่งนี้หลายๆ คนอาจจะชอบครับ แน่นอนว่าการทำให้เครื่องทำงานหนักๆ ก็ต้องทำให้เครื่องประมวลผลหนักๆ และวิธีที่ทำให้เครื่องประมวลผลหนักอย่างรวดเร็วก็คือการเล่นเกมนั่นเอง วันๆ คนทำตำแหน่งนี้ก็จะเล่นเกม และคอยเอากล้องมาส่องดูว่าเครื่องร้อนตรงไหนบ้าง แต่จะน่าเบื่อนิดหน่อยก็ตรงที่งานนี้ทำให้เล่นเกมไม่จบซักทีนี่แหละ

การทดสอบการกระแทกของเครื่อง เป็นการทดสอบการใช้งานทั่วไป ว่าหากมีการกระแทก กระทบกระเทือนเล็กๆ น้อยๆ จะมีผลกระทบต่อเครื่องหรือไม่

การทดสอบปล่อยเครื่องตกจากที่สูงเป็นเมตร การทดสอบนี้น่าจะโหดที่สุดในการทดสอบทั้งหมดแล้ว การทดสอบนี้ในตอนแรกเราจะวางเครื่องไว้บนแท่นตัวหนึ่ง และเมื่อเริ่มการทดสอบ แท่นตัวนี้ก็จะถูกยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ถึงระดับที่ต้องการทดสอบ จากนั้นก็จะปล่อยตกลงมาจนถึงพื้น เมื่อตกถึงพื้นพนักงานโรงงานก็จะนำเครื่องมาทดสอบใช้ต่อว่าใช้ได้หรือไม่

เห็นวีดีโอการทดสอบนี้แล้ว ก็แทบไม่ต้องแปลกใจกันเลยล่ะครับว่าทำไมถึงมีวีดีโอทดสอบการปล่อยเครื่องจากที่สูงออกมาโชว์ให้เราเห็นกันบ่อยๆ ความจริงการทดสอบแบบนี้ก็มีกันอยู่แล้วในโรงงาน เพื่อทดสอบความคงทนของเครื่อง สำหรับผมแล้วการทดสอบโยนให้เราดูผ่าน Youtube นั้นแทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดากันไปเลย หลังจากได้รู้กระบวนการผลิตเครื่อง Smartphone จากโรงงานของ Oppo ในครั้งนี้

 

สุดท้ายก็ทดสอบกันที่ระบบสัมผัส หรือ Touchscreen ในโรงงานของ  Oppo จะมีระบบทดสอบการสัมผัส ที่จะทดลองการกดปุ่มบนหน้าจอแบบต่อเนื่องกันถึงมากกว่า 300,000 ครั้งติดต่อกันเลยทีเดียว เรียกกันว่ากดกันให้เครื่องแทบค้างกันไปข้าง หรือจนกว่าหน้าจอจะรวนกันไปเอง

 

การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทั้ง Accelerometer หรือว่าดูสีของหน้าจอ

[/accordion]

 

จากกระบวนการทดสอบทั้งหมดนี่แหละครับ สุดท้ายแล้ว Oppo ก็เอาผลการทดสอบต่างๆ มาเป็นหัวข้อในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของเครื่อง Smartphone ของพวกเค้ากันต่อไป จนในที่สุดก็ได้ Smartphone ที่วางขายในตลาดอย่างที่เราเห็นกันออกมา และแน่นอนครับ ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วอย่าลืมว่าเครื่องที่ออกมาวางขาย ถึงจะมีขั้นตอนการตรวจสอบที่เยอะแยะมากมายอยู่แล้ว แต่ยังไงก็มีโอกาสที่จะเจอข้อผิดพลาดบ้างอยู่ดี ผู้ใช้งานอย่างเรานี่แหละ ที่จะเป็นผู้ทดสอบรายสุดท้าย ที่คอยตรวจตราเก็บงานข้อผิดพลาดที่หลงเหลือนั่นเอง หากใครซื้อเครื่อง Smartphone จาก Oppo มา แล้วเจอปัญหาใดๆ ก็อย่าลืมแจ้งปัญหาให้กับทาง Oppo เค้าด้วยล่ะครับ โดยสามารถเข้าไปพูดคุยกันได้ที่ Facebook  ของ Oppothai กันได้เลย

http://www.facebook.com/oppothai

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณบริษัท Oppo ประเทศไทย ที่เชิญผมไปร่วมทริปที่ได้ประสบการณ์อันลำค่าในครั้งนี้ด้วยครับ