Lazada

[PR] วีเอ็มแวร์ เผยกลยุทธ์คลาวด์ใหม่ ตอบโจทย์การจัดการด้านไอที

hbb

วันนี้ที่งาน vForum Thailand  วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และบิสสิเนสโมบิลิตี้ เผยว่าอุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจดิจิตอลในประเทศไทย คือ การจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบต่อการดำเนินงานขององค์กรได้  ด้วยข้อมูลเชิงลึกจากผลรายงานการวิจัย VMware State of the Cloud 2016 วีเอ็มแวร์เน้นย้ำว่า ประเทศไทยมีการจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์มากมากที่สุดจากกลุ่มประเทศที่ทำการสำรวจ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากขึ้น เกิดค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น และเพิ่มช่องว่างของทักษะด้านไอที ปัจจุบันแผนกไอทีมักถูกละเลยความสำคัญโดยผู้นำธุรกิจขององค์กรต่างนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ด้วยตนเองเพื่อเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและตอบสนองเป้าหมายการเติบโตต่างๆ ขององค์กร แต่แผนกไอทีกลับต้องรับผิดชอบหากมีสิ่งผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ทำให้แผนกไอทีจำเป็นที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานร่วมกันสำหรับการจัดการคลาวด์ที่หลากหลาย เพื่อลดความซับซ้อน ความไร้ประสิทธิภาพและความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และที่สำคัญที่สุดคือเพื่อให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

จากผลวิจัย VMware State of the Cloud 2016 พบว่า องค์กรในประเทศไทยกำลังประสบกับการจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์ที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยสัดส่วนผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามกว่า 90 เปอร์เซ็นต์จากประเทศไทย ซึ่งนับเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในโลก ต่างเห็นด้วยว่าการจัดซื้อและการบริหารจัดการด้านไอทีล้วนเกิดขึ้นโดยอยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของแผนกไอที

เมื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันขององค์กร ทำให้ต้นทุนและความเสี่ยงต่อซิเคียวริตี้ขององค์กรเพิ่มมากขึ้น

จากความต้องการของผู้นำธุรกิจในประเทศ ที่ต้องการเร่งการพัฒนาองค์กรให้ทัดเทียมคู่แข่ง (50 เปอร์เซ็นต์) และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้ได้เร็วขึ้น (46 เปอร์เซ็นต์) ส่งผลให้สถิติในการจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์ และการใช้งานระบบมัลติคลาวด์โดยไม่ได้รับอนุญาตในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยมีการซื้อคลาวด์เซอร์วิสเพิ่มโดยเฉลี่ยถึง 7 เซอร์วิสต่อหนึ่งองค์กรโดยไม่ได้ปรึกษาแผนกไอทีก่อน

การจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์ในหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เพิ่มมากขึ้น (86 เปอร์เซ็นต์) ออกผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ๆ สู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น (89 เปอร์เซ็นต์) และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆได้มากขึ้น (87 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการจัดการด้านไอทีแบบกระจายศูนย์จะนำมาซึ่งประโยชน์จำนวนมาก สัดส่วนของผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามเกือบ 3 ใน 4 กลับมีความเห็นว่าการจัดการด้านไอทีดังกล่าว จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านไอทีในทุกภาคส่วนของธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น (70 เปอร์เซ็นต์) โดยทำให้เกิดความค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่ซ้ำซ้อนทั่วทั้งองค์กร (66 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ 67 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามยังชี้ให้เห็นว่าสายงานต่างๆ ของธุรกิจ (lines of businesses) มีการจัดซื้อโซลูชั่นที่ไม่มีความปลอดภัย  ซึ่งต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแฮ็คข้อมูลและการคุกคามด้านไซเบอร์ (80 เปอร์เซ็นต์)

ไอทีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ

แผนกไอทีในประเทศไทยกำลังเผชิญกับแรงกดดันและความคาดหวังต่างๆ ด้วยสัดส่วน 91 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่า นอกจากที่จะต้องช่วยให้แต่ละฝ่ายในองค์กรสามารถผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม แผนกไอทีต้องให้ทิศทางกลยุทธ์และสร้างระบบความปลอดภัยที่มั่นคงได้ด้วยเช่นกัน โดยรวมแล้ว ผลการสำรวจดังกล่าวตอกย้ำถึงความจำเป็นของประเทศไทยที่ต้องรวมศูนย์การบริหารจัดการไอที (centralize IT) ให้มากขึ้น และลดจำนวนการจัดซื้อด้านไอทีในแต่ละสายธุรกิจให้น้อยลง (82 เปอร์เซ็นต์)

นางสาว อัศนีย์ วิภาตเวทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กรและบริการระหว่างประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า “ปัจจุบันองค์กรธุรกิจไทยกำลังเร่งพลิกโฉมองค์กรให้เป็นดิจิตอลมากขึ้น โดยองค์กรเหล่านี้ได้หันมาเลือกใช้ระบบคลาวด์และแอพพลิเคชั่นที่รันบนคลาวด์เพื่อสร้างความคล่องตัวและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การใช้งานซอฟต์แวร์ดีฟายดาต้าเซ็นเตอร์และโซลูชั่นบิสสิเนสโมบิลิตี้ของวีเอ็มแวร์ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้เราสามารถใช้งานและทดสอบการทำงานของแอพพลิเคชั่นภายในองค์กรได้ดียิ่งขึ้น และพนักงานของเรายังได้รับการสนับสนุนที่ดียิ่งขึ้น ความร่วมมือกับวีเอ็มแวร์ได้ช่วยเสริมประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งในการให้บริการคลาวด์ของเอไอเอสแก่ลูกค้าในประเทศไทยและช่วยสนับสนุนให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจดิจิตอล”

นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด กล่าวว่า “ธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยต่างต้องการอิสระและความคล่องตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายและความไม่มั่นคงของความปลอดภัยด้านไซเบอร์ เนื่องจากการละเลยความสำคัญของแผนกไอทีเมื่อองค์กรมีการใช้งานเทคโนโลยี  โดยคลาวด์ คอมพิวติ้ง ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และเราเข้าใจถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมของแผนกไอทีและผู้นำธุรกิจด้วยเครื่องมือที่จะสามารถช่วยบริหารจัดการระบบคลาวด์ที่หลากหลายในปัจจุบันได้ Cross-Cloud Architecture™ จากวีเอ็มแวร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าวโดยเฉพาะด้วยการมอบการทำงานบนระบบคลาวด์ที่มีอิสระและสามารถควบคุมได้”

VMware CrossCloud Architecture ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการได้ทั้งไพรเวทและพับลิค คลาวด์

เพื่อช่วยให้ผู้นำธุรกิจและแผนกไอทีขององค์กรต่างๆ จัดลำดับความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์ที่หลากหลายในปัจจุบัน วีเอ็มแวร์ได้ขยายกลยุทธ์ไฮบริดลาวด์ของบริษัทด้วย VMware Cross-Cloud Architecture™ โซลูชั่นซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถ บริหารจัดการ เชื่อมต่อ และรักษาความปลอดภัยแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้งานทั้งบนคลาวด์และในดีไวซ์ต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเดียวกัน Cross-Cloud Services ใหม่ที่วีเอ็มแวร์กำลังพัฒนาอยู่นี้ จะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการและรักษาความปลอดภัย แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทำงานบนระบบพับลิคคลาวด์ที่แตกต่างกันได้พร้อมๆ กันไม่ว่าจะเป็นบริการ Cloud จาก Amazon Web Services (AWS), Azure หรือ IBM Cloud ก็ตาม

นอกจากนี้ โซลูชั่น VMware Cloud Foundation™ ยังมาในรูปแบบบริการเช่าใช้งาน หรือ “as-a-service” ใหม่ โดยมาพร้อมกับขุมพลังของซอฟต์แวร์ดีฟายดาต้าเซ็นเตอร์ (SDDC) เพื่อการใช้งานบนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์