Lazada

ตรวจอากาศได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนของคุณด้วย Kingmax AirQ Check

ปัจจุบันเมื่อเมืองที่เราอาศัยอยู่มีความเจริญขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมานอกจากความพลุกพล่านของคนแล้วยังเป็นมลภาวะในอากาศที่เกิดขึ้นจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง โรงงานอุตสาหกรรม หรือที่เรารู้กันดีอีกเรื่องคือการจราจร ในความเป็นจริงถ้าเราสามารถรู้ได้ว่าอากาศบริเวณนี้เป็นอย่างไรบ้างก็คงจะดีไม่น้อย ซึ่งวันนี้เราจะได้รู้กันแล้วครับ กับอุปกรณ์ตรวจเช็คมลภาวะในอากาศของ Kingmax ที่สามารถพกพาไปใช้งานได้ทุกที่ ในชื่อ AirQ Check

66142-2435

AirQ Check เป็นอุปกรณ์เพื่อสุขภาพที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน Android มีขนาดเหมาะกับการพกพา และไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มด้วยครับ

1ตัว AirQ Check มาในกล่องกระดาษขนาดเล็ก และอยู่ในถาดพลาสติกอีกหนึ่งชั้น

2

ตัวอุปกรณ์มีลักษณะคล้าย flash drive เป็นอย่างมาก บอดี้เป็นพลาสติกทั้งตัว มีกรอบโลหะหุ้มอยู่ด้านนอก

3

โดยสิ่งที่แตกต่างจาก flash drive ทั่วไปคือมีพอร์ตเชื่อมต่อเป็น micro USB สามารถใช้งานโดยทำการเลื่อนกรอบโลหะออกไปด้านหลัง ทำให้หัวพอร์ตโผล่ออกมา

4

ในเรื่องของขนาด ถือว่ามีขนาดที่เล็กมาก ในภาพเป็นการเทียบกับ iPhone 6 ขนาดจอ 4.7 นิ้ว

การใช้งาน AirQ Check

5

ตัวอุปกรณ์สามารถทำงานร่วมกันกับ smart device ในระบบ Android และต้องรองรับการเชื่อมต่อแบบ USB OTG เท่านั้นนะครับ ซึ่งต้องดาวน์โหลดแอพมาใช้งานควบคู่กัน โดยสามารถโหลดได้ที่นี่ครับ

6

การทำงานของตัว AirQ Check มีขั้นตอนไม่ยากครับ เมื่อเสียบเข้ากับอุปกรณ์ Android ของเรา มันจะทำการเรียกแอพขึ้นมาโดยอัติโนมัติ จากนั้นเราสามารถเลือกเมนูต่างๆเพื่อทำการตรวจสอบอากาศในบริเวนนี้ได้ทันที

เมื่อเราทำการวัดค่าอากาศ ตัว AirQ Check จะมีไฟ LED กระพริบอยู่เป็นจังหวะครับ

ใช้งาน AirQ Check ตรวจอากาศภายในอาคาร

screenshot_2016-10-13-12-17-09

ตัวแอพเองมีขั้นตอนในการใช้งานไม่ยากครับ โดยจะสามารถวัดค่าอากาศได้ 4 แบบด้วยกัน ในแบบแรกจะเป็นการวัดอุณหภูมิ ซึ่งในรูปเป็นอุณหภูมิห้อง วัดได้ 26 องศาเซลเซียส

screenshot_2016-10-13-12-17-18

ต่อไปเป็นค่า ความชื้นสัมพัทธ์(relative humidity หรือ RH) ซึ่งวัดได้ 59.3% RH ซึ่งอยู่ในระดับปกติ (ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 50-55% RH)

screenshot_2016-10-13-12-20-26

 

ค่าที่วัดได้ต่อมาคือ ค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จากรูปวัดได้ถึง 612 ppm(ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งมีปริมานที่สูง ทำให้ตัวแอพเตือนว่า Not Good (ตามปกติในอากาศทั่วไปของโลกเราจะมีค่านี้อยู่ประมาน 400 ppm)

screenshot_2016-10-13-12-25-36

และค่าสุดท้ายที่วัดได้คือค่า TVOC หรือ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย(Total Volatile Organic Compounds) เป็นสารเคมีที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนต้องใช้ในครัวเรือนหลายประเภท เช่น ทินเนอร์ สารทำความสะอาด น้ำมันหล่อลื่น ควันบุหรี่ สีทาบ้าน น้ำยาซักแห้ง ยาฆ่าแมลง หรือแม้แต่สารที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งประมาน TVOC ที่ปลอดภัยสำหรับอากาศภายในอาคารที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้อยู่ที่ประมานไม่เกิน 80 ppb(ส่วนในพันล้านส่วน) จากในรูปจะมีค่า TVOC เพียง 12 ppb ดังนั้นตัวแอพจึงแจ้งว่า Fresh ครับ

ใช้งาน AirQ Check ตรวจอากาศภายนอกอาคาร

screenshot_2016-10-13-12-27-51 ลองนำอุปกรณ์มาทดสอบใช้งานนอกอาคารดูบ้างครับ โดยตัวแอพจะสามารถจับตำแหน่งที่อยู่ของเราได้ จากภาพเป็นเวลาประมาน 12.27 น. พบว่าตรวจอุณหภูมิภายนอกได้สูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียส และมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างสูงที่ 79% RH

screenshot_2016-10-13-12-36-19

แต่เมื่อวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ พบว่าน้อยลงเป็น 456 ppm เท่านั้น

screenshot_2016-10-13-12-41-36

สุดท้ายค่า TVOC สำหรับอากาศภายนอก สูงขึ้นเป็น 90 ppb แต่ยังถือว่าปลอดภัยเมื่อเทียบกับมาตรฐานของอากาศทั่วไปที่องค์กรอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 100 ppb ครับ

สรุปเกี่ยวกับ AirQ Check 

pg8ecde082cd86d7d22a81a7e7d2b30f64

ในชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบันที่มลภาวะต่างๆ ในอากาศสูงขึ้นอย่างมาก Kingmax AirQ Check เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการตรวจสอบอากาศในพื้นที่ที่เราอยู่หรือต้องไปทำงาน ว่ามีความอันตรายต่อสุขภาพมากน้อยขนาดไหน รวมไปถึงครอบครัวที่มีเด็กๆ อยู่แล้วไม่อยากที่จะให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศไม่บริสุทธิ์ ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรละเลยจริงๆครับ

จุดเด่น

  • ใช้งานง่าย เพียงแค่เสียบเข้ากับอุปกรณ์ Android ผ่านพอร์ต micro USB
  • ตัวแอพไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายและแสดงผลชัดเจน
  • ไม่ต้องการไฟเลี้ยงเพิ่มเติมจากภายนอกและไม่มีแบตเตอรี่ในตัว

จุดด้อย

  • ตัวแอพทำงานช้าในบางครั้ง และการออกแบบยังไม่ดีนัก
  • เนื่องจากเชื่อมต่อด้วย micro USB ทำให้เมื่อใช้งานกับอุปกรณ์ที่ใช้ USB Type C ต้องใช้งานผ่าน adapter
  • มีราคาสูงถึง $69.99 และหาซื้อได้ยากในประเทศไทย