- สินค้าราคา 9 บาท บน JD Central ประจำวันนี้! คลิกเลย
- แจกคูปองส่วนลดซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดสูงสุด 1,000 บาท
- สมัครบัตรเครดิต KTC Mastercard รับฟรีโค้ดส่วนลด Shopee มูลค่า 250 บาท
- Welcare หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ทรง 3D รุ่น WF-99 (1 กล่อง 50 ชิ้น)
- แจกฟรี! คูปองส่งฟรี Lazada กดรับได้ที่นี้
- มือถือ แท็บเล็ต อุปกรณ์เสริม ลด 65% + คูปองลดเพิ่ม 10,000.-
ดราม่าประหลาดก่อนส่งท้ายปี สืบเนื่องจากกรณีคนในวงการบันเทิงโพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง Instagram ว่ามีความผิด จนลามมาถึงประชาชนคนทั่วไป ที่โพสต์ภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงโซเชียลมีเดีย ก็อาจถือได้ว่าเป็นความผิดเช่นกัน
เรื่องนี้มีการนำเสนออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนายยรรยง เดชภิรัตนมงคล อัยการผู้เชี่ยวชาญในฐานะรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ในมาตรา 32 ของพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
จากข้อความดังกล่าวนายยรรยงอธิบายว่า การกระทำที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรฐาน 32 จะต้องมีเจตนาทางการค้าเท่านั้น แต่หากไม่เจตนา ถือว่าไม่มีความผิด ซึ่งถ้าหากบริษัทผู้ผลิตแอลกอฮอล์ได้มีการว่าจ้างประชาชนโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เจ้าหน้าที่ก็ยังมีอำนาจในการตรวจสอบ
อย่างไรก็ดี ถ้าหากดูตามพ.ร.บ. จะเห็นได้ว่ามีการตีความค่อนข้างกว้าง อีกทั้งการพิสูจน์ถึงการเจตนาไม่เจตนา ก็อาจทำได้ยาก เว้นเสียแต่ว่า ข้อความประกอบภาพ (Caption) ที่อาจเป็นตัวอธิบายว่า การโพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงโซเชียลมีเดีย เป็นไปเจตนาหรือไม่เจตนา ซึ่งกรณีการโพสต์ภาพแอลกอฮอล์ลงโซเชียลมีเดีย จะกลายเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก ถ้าหากมีประชาชนถูกดำเนินคดีจากพ.ร.บ.ฉบับนี้
ที่มา: มติชน
กด Like เพจเพื่อติดตามข่าวสาร