แผลริมอ่อน สาเหตุการเกิด แนวทางรักษา

แผลริมอ่อน (Chancroid) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โดยสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Haemophilus Ducreyi) โดยจะส่งผลให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ ทำให้ผู้เป็นมีอาการ เจ็บ และ แสบที่แผล โดยส่วนมากมักพบแผลอยู่รวมกันหลายจุด โดยวันนี้พวกเราทีมงาน บ้าน HG จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคชนิดนี้ ว่าสาเหตุการติดมาจากอะไรได้บ้าง พร้อม วิธีรักษา และ บรรเทาอาการ รวมไปถึง แนวทางในการป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้

สาเหตุของแผลริมอ่อน

ฮีโมฟิลุส ดูเครย์ (Haemophilus Ducreyi) เจ้าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นต้นเหตุของการเกิดแผลริมอ่อน การติดต่อจะสามารถติดต่อกันได้ทางการมี เพศสัมพันธ์ หรือ การสัมผัสของเหลวของผู้ที่มีเชื้อชนิดนี้อยู่ก็สามารถทำให้ เชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุส ดูเครย์ แพร่กระจายได้เช่นกัน โดยเชื้อจะสามารถเข้าผ่านทางผิวหนังที่มีการถลอก หรือมี บาดแผล อยู่ตามเซลล์เยื่อบุต่างๆ โดยที่ตัวเชื้อจะทำการผลิตสารพิษส่งผลให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศได้

อาการของแผลริมอ่อน

สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อ อาการของโณคจะออกมาภายใน 3-7 วัน โดยอาการที่พบจะมีแผลลักษณะเปื่อยเป็นตุ่ม ขอบแผลลักษณะนูนขึ้นมา โดยยิ่งเวลาผ่านไป แผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมีหนอง และ สามารถแพร่กระจายเพิ่มจำนวนได้ โดยหากมีแผลชนิดนี้ขึ้นจะมีอาการ เจ็บและแสบ โดยเฉพาะเวลา ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ โดยเฉพาะเวลาที่ไปถูกแผลมีการเสียดสี หรือ ขณะมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้รู้สึกเจ็บแสบมากเป็นพิเศษจนไม่อาจดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ โดยที่ในระหว่างเพศชาย และ หญิง อาการเด่นที่แสดงจะมีอาการแตกต่างกันเล็กน้อย

อาการในผู้ชาย

เกิดตุ่มขอบนูน สีชมพูแดง ขึ้นบริเวณ อวัยวะเพศ ถุงอัณฑะ หนังหุ้มปลาย โดยแผลสามารถลุกลามเพิ่มขึ้น และเป็นแผลเปื่อยได้ โดยใช้ระเวลา 2-3 วัน จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ขณะขับถ่าย หรือ มีเพศสัมพันธ์

อาการในผู้หญิง

ในเพศหญิง จะมีตุ่มแดงนูนเช่นเดียวกับฝ่ายชาย แต่ความแสบ จะมีอาการน้อยกว่า โดยตุ่มแผล จะสามารถพบได้มากบริเวณ ขาหนีบ ปากช่องคลอด แคมเล็ก มีตกขาวมากผิดปกติมีกลิ่นแรง ซึ่งบางรายอาการในเพศหญิงจะแสดงออกไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยเพศหญิงบางรายไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นโรคนี้อยู่ ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังคู่นอนของตนได้

ลักษณะอาการที่สามารถพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

  • ขนาดแผล 3 มิลลิเมตร-5เซนติเมตร
  • อาการแสบ ปวด รุนแรง โดยเฉพาะยามขับถ่าย และ ร่วมเพศ
  • ลักษณะแผลนิ่ม มีขอบนูน
  • เมื่อมีการเสียดสีจะทำให้เลือดออก
  • อาการแทรกซ้อน ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตผิดปกติ อาจเกิดฝี ขึ้นได้

การรักษาแผลริมอ่อน

การรักษาแผลริมอ่อนนั้น สามารถ ทานยาเพื่อรักษาให้หายได้ หากสงสัยว่าตนเองมีอาการของโรค ควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และ เริ่มต้นทำการรักษา แผลริมอ่อนสามารถหายขาดได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ต้นเหตุของโรค ยารักษาแผลริมอ่อน เช่นยา Azithromycin Ciprofloxacin Erythromycin Ceftriaxone เมื่อได้ยาตามที่แพทย์สั่ง อาการจะบรรเทาลง แผลจะค่อยๆแห้ง และจะค่อยๆมีขนาดเล็กลง อาการจะทุเลาลงภายในเวลา 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนแผล และ ขนาดแผล ของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ในกรณีของผู้ป่วยที่ มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตผิดปกติ แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อเจาะระบายหนองที่อยู่ภายในออกมา โดยการรักษาหากพบอาการแทรกซ้อนนี้อาจใช้เวลานานถึง 1-3 เดือน

สรุป

ผู้ที่ จะทำการ รักษาแผลริมอ่อนควรดูแลตนเองในหลายด้านเพิ่มเติม ทั้งการทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยน้ำเกลือ รักษาความสะอาดให้ดี พร้อมกับ ดูแลโดยการทานยาตามแพทย์สั่งควบคู่ไปด้วย ระวังเรื่องการเสียดสี และ ความอับชื่น บริเวณแผล รวมไปถึงงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดซึ่งเป็นของแสลงกับโรคชนิดนี้