ทำไมต้องจ้างแรงงานต่างด้าว
ในปัจจุบันประเทศไทยเรามีอัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุเพราะ เกิดปัญหาแรงงานภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดคนงานบางประเภท เช่น งานก่อสร้าง งานเกษตร งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานทำความสะอาด และงานชนิดอื่นๆอีกมากมาย ทำให้นายจ้างและผู้ประกอบการที่ต่างๆหันมาจ้างแรงงานต่างด้าวแทน ซึ่งก่อนที่นายจ้างจะจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น ควรศึกษาหาข้อมูล เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่จะตามมา โดยสิ่งที่นายจ้างควรรู้ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย มีดังนี้
- การจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย ต้องทำตามข้อตกลงตามระบบ MOU เท่านั้น
แรงงานต่างด้าว MOU คือ แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบถูกกฎหมาย ตามเอกสารบันทึกข้อตกลง MOU (Memorandum of Understanding) สัญชาติเมียนมา ลาวและกัมพูชา จะเป็นแรงงานภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศต้นทางทั้งสาม ซึ่งนายจ้างจะต้องยื่นคำขอแรงงานต่างด้าวด้วยตนเอง หรือผ่านบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว MOU แบบครบวงจร
- การจัดหาแรงงานต่างด้าวมี 2 วิธี
- การนำเข้าแรงงานต่างด้าวใหม่ โดย MOU สัญชาติเมียนมา ลาวและกัมพูชา
- แรงงานต่างด้าวในประเทศ ที่ย้ายมาจากนายจ้างอื่น ในกรณีนี้เราต้องตรวจสอบเอกสารให้แน่ชัดว่า แรงงานต่างด้าวคนนั้นสามารถเปลี่ยนนายจ้างแล้วมาอยู่กับเราได้หรือไม่ ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้
- นายจ้างเลิกจ้าง / นายจ้างเสียชีวิต
- นายจ้างล้มละลาย
- นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
- นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างงานหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- สภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัย
- ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าวภายในประเทศ นายจ้างต้องตรวจสอบเอกสารดังนี้
- หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทางมีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ
- ตรวจลงตราอนุญาตเข้าประเทศไทย (VISA) ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน)
- ใบแจ้งออกที่ยังมีอายุอยู่
หากไม่พบเอกสารใดเลย ให้สันนิษฐานว่าเป็นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย นายจ้างไม่สามารถดำเนินการจ้างได้ หากต้องการทำให้แรงงานต่างด้าวคนนั้นถูกกฎหมาย จำเป็นต้องส่งตัวแรงงานกลับประเทศต้นทางไปก่อนและทำเรื่องขอนำเข้าแรงงาน MOU เข้ามาใหม่
- แรงงานต่างด้าวต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น และมีสัญญาผูกมัดกับบริษัท 2 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปีรวมเป็น 4 ปี
- ค่าใช้จ่ายการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU
- ค่าตรวจสุขภาพ
- ค่าใบอนุญาตทำงาน
- ค่าหนังสือเดินทาง
- ค่าประกันสังคม
- ค่าประกันสุขภาพ
- และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
นายจ้างสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง หรือใช้บริการจากบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่มีประสบการณ์และเป็นมืออาชีพอย่าง Jobs Worker Service เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงไม่ต้องเสียค่าเงินประกัน 1,000 บาท อีกด้วย
- แรงงานต่างด้าวได้รับค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับแรงงานไทย
อัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น จะมีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด สามารถตรวจสอบได้ที่ ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- หน้าที่ของนายจ้างเมื่อนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ
- หากมีการจ้างคนต่างด้าว นายจ้างต้องแจ้งการจ้างต่างด้าวให้กับนายทะเบียนทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่รับคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน
- หากคนต่างด้าวออกจากงาน นายจ้างต้องแจ้งการออกงานของคนต่างด้าว ให้นายทะเบียนทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมระบุเหตุผลในการออก (หากเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาโดยตัวแทนบริษัท ต้องแจ้งภายใน 7 วัน)
- เมื่อลูกจ้างทำงานจนครบสัญญา ให้นายจ้างที่เป็นผู้วางหลักประกัน จัดส่งคนต่างด้าวกลับประเทศต้นทาง
- นายจ้างต้องแสดงสัญญาจ้างเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
- ข้อห้ามของนายจ้าง เมื่อรับคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน
- ห้าม รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน
- ห้าม ให้แรงงานต่างด้าวทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดในสัญญาใบอนุญาตทำงาน
- ห้าม ยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของแรงงานต่างด้าว เว้นแต่ กรณีที่เจ้าตัวยินยอม แต่นายจ้างนั้นต้องอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเอกสารดังกล่าวได้ตลอดเวลา
- ข้อดีของการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานแบบถูกกฎหมาย MOU
- ได้รับคนต่างด้าวที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของนายจ้าง
- นายจ้างสามารถตรวจสอบที่มาของคนต่างด้าวได้หากประสบปัญหา
- นายจ้างสามารถวางแผนการจ้างให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้จำนวนมาก
- เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่มีความเสี่ยงหรือปัญหาภายหลัง
- การปฏิบัติตนของนายจ้าง ต่อลูกจ้างแรงงานต่างด้าว
- มีความเท่าเทียม นายจ้างต้องมีความเท่าเทียมต่อลูกจ้างชายและหญิงในการจ้างงาน
- เวลาทำงานปกติ งานทุกประเภทต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือตามที่ตกลงกันไว้ แต่ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- การทำงานล่วงเวลา/การทำงานในวันหยุด นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง แต่ถ้าหยุดจะเกิดความเสียหายแก่งาน นายจ้างอาจทำให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
- วันหยุด
- หยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์
- หยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี (รวมวันแรงงานแห่งชาติ)
- ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี
- วันลา
- ลาป่วย ได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี
- ลากิจ ลูกจ้างมีสิทธิลาได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน
นายจ้างที่คิดจะจ้างแรงงานต่างด้าว ตามระบบ MOU นั้น เชื่อมั่นได้เลยว่า เป็นระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามถูกกฎหมาย และลูกจ้างไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และต้องทำงานกับนายจ้างเดียวเท่านั้น ตลอดระยะเวลา 4 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากนายจ้างทำด้วยตนเอง อาจเกิดข้อผิดพลาด และทำให้เสียเวลาได้ จะดีกว่าไหมหากใช้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจรอย่าง Jobs Worker Service บริการทุกขั้นตอนแบบ one stop service ครบจบ ในที่เดียว
กด Like เพจเพื่อติดตามข่าวสาร