Samsung Galaxy Note 3 Review ไลฟ์สไตล์เพื่อคนชอบเขียน

Galaxy-Note-3-Review-pic-22

เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของซัมซุงที่ในช่วงปลายปีจะต้องมี Galaxy Note สมาร์ทโฟนตระกูล Phablet ออกมาเขย่าตลาด ซึ่งปีนี้ก็เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว

ถ้าจะว่าไปแล้ว Galaxy Note 3 ถือว่า เป็นรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะในไลน์ผลิตภัณฑ์ตระกูล Note ของซัมซุง ขนาดหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นในทุกๆ ปี จากรุ่นแรก Note I ที่ 5.3 นิ้ว ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นทีละ 0.2 นิ้ว จนตอนนี้อยู่ที่ 5.7 นิ้ว ไซส์ที่ขนาดใกล้เคียงกับแท็บเล็ตเข้าไปทุกขณะ

Galaxy-Note-3-Review-pic-2

รูปลักษณ์ภายนอกของ Galaxy Note 3 ที่ถูกใจคือขอบจอ (Bezel) ของเครื่องค่อนข้างแคบ ทำให้การใช้งานหน้าจอนั้น ทำได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และจะว่าไปแล้วนี่ก็ถือเป็นเทรนด์ใหม่ของการสมาร์ทโฟนในช่วงเวลานี้เลยครับ

ต่อมาคือ ด้านหลังเครื่อง ปกติแล้วซัมซุงมักเลือกใช้พลาสติกที่ดู Glossy แต่รอบนี้เปลี่ยนไปหันมาใช้หนังเทียม (Faux Leather) แปะบนพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ความรู้สึกในการสัมผัสเปลี่ยนไป

Galaxy-Note-3-Review-pic-3

สำหรับผมแล้ว วัสดุที่เป็นหนังเทียมนี้มากกว่าครับ คือ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เนียนนุ่ม ออกแนวแข็งๆ กระด้างด้วยซ้ำไป แต่ว่า เวลาที่จับตัวเครื่องจากด้านหลังแล้วมันอยู่มือ ไม่ลื่น ทำให้เปอร์เซนต์การที่ตัวเครื่องจะหลุดจากมือไปนั้น น้อยลงไป

Galaxy-Note-3-Review-pic-11

ด้านพอร์ทการเชื่อมต่อ เป็นครั้งแรกที่ซัมซุงหยิบเอา microUSB 3.0 มาใช้แทน แน่นอนว่า การโอนถ่ายข้อมูล ผ่านคอมพิวเตอร์จะทำได้เร็วขึ้น แต่ชาร์จไฟบ้านเร็วขึ้นหรือไม่นั้น ผมไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากทางซัมซุงให้มาแค่เฉพาะตัวเครื่อง แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เป็นไรครับ ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะเป็น microUSB 3.0 แต่ยังใช้เวอร์ชัน 2.0 เชื่อมต่อแทนได้เหมือนเดิมครับ

Hardware

  • ขนาดหน้าจอ 5.7 นิ้ว Full HD
  • แอนดรอยด์ 4.3 Jelly Bean
  • ชิปประมวลผล Exynos 5420 Octa Core 1.9 GHz (A15 1.9 GHz + A7 1.3 GHz)
  • RAM 3GB
  • กล้องหลัง 13 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล
  • แบตเตอรี 3400 mAh

ในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ค่อนข้างหายห่วงเลยครับ สำหรับฝั่งแอนดรอยด์ โดยเฉพาะฝั่งไฮเอนด์ไม่ว่าจะรุ่นไหนก็ใช้งานได้สบายบรื๋อ ไม่มีปัญหา นอกจากนี้แล้วผมยังไม่ค่อยมายด์มากนักกับตัวเครื่องที่จำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งเป็นรุ่น Exynos 5420 ที่เคยเป็นประเด็นร้อน

ผมออกตัวก่อนเลยว่า ผมไม่มีความคิดที่จะดีเฟนด์ซัมซุงเลย เพราะจากการที่ได้ลองใช้งาน Exynos 5420 ผ่าน Galaxy Note 3 มาเป็นเวลาระยะหนึ่ง ผมไม่ได้รู้สึกว่า Exynos มันห่วยจนน่าประหารชีวิต กลับกันสิ่งที่ผมว่า มันไม่เวิร์กใน Galaxy Note 3 มันกลับเป็นเรื่องซอฟต์แวร์มากกว่า เพราะเวลาใช้งานหลายครั้งแล้ว มันใช้งานได้ไม่ราบรื่น

ประเด็นในเรื่องของการถ่ายวิดีโอความละเอียด 4K ผมว่า มันไม่ค่อยเมกเซนส์เท่าไหร่ เนื่องจากว่า 4K นั้น มีดีไวส์ที่รองรับในเวลานี้ไม่เยอะ มีเท่าหยิบมือหนึ่ง แถมราคาต่อหน่วยเองก็สูงลิ่ว นี่ยังไม่รวมเรื่องขนาดไฟล์วิดีโอ 4K ที่ค่อนข้างใหญ่ด้วย แน่นอนครับว่า กินพื้นที่ใน Note 3 คุณแน่ๆ

Galaxy-Note-3--3G

แต่ในรายละเอียดเรื่อง LTE ประเด็นนี้อาจพอฟังขึ้นบ้างครับ ถ้าในกรณีที่ LTE ของทรูนั้นครอบคลุมมันก็น่าจะมีรุ่นที่รองรับกับผู้ใช้ที่ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่เท่าที่ทราบตอนนี้ ยังมีไม่เยอะมาก เข้าใจว่าช่วงเดือนธันวาคมคงขยายไปในจุดอื่นของกทม. และปริมณฑล

เป็นอันว่าจบครับ เรื่องที่จะพูดต่อคือ เรื่องของขนาดหน้าจอเครื่อง ตามที่เรียนไว้ข้างต้นว่า Galaxy Note 3 หน้าจอใหญ่ขึ้นทุกๆ ปี ตอนนี้อยู่ที่ 5.7 นิ้วแล้ว ถามใจผมเลย ผมว่าหน้าจอขนาดนี้มันใหญ่เกินไปสักหน่อย อีกเพียงนิดเดียวมันจะเป็นแท็บเล็ตได้แล้ว โอเคแหละว่า ด้วยความที่หน้าจอมันใหญ่ขึ้น การทำงาน การวาดภาพ การเสพย์สื่อบันเทิงจะรู้สึกแฮปปี้มากขึ้น เพราะจอมันใหญ่เห็นอะไรได้ชัด แต่ในขณะเดียวกันคุณจะใช้งาน Galaxy Note 3 ด้วยมือเดียวไม่ได้เลย เพราะมันใหญ่เกินกว่าที่จะใช้งานด้วยมือเดียวแบบที่คุ้นเคยกัน

Galaxy-Note-3--RAM

นอกจากนี้เป็นเรื่องของ RAM ที่ Galaxy Note 3 เป็นอินเตอร์แบรนด์เจ้าแรกที่ยัดความจุหน่วยความจำสำรองถึง 3GB ตอนที่ผมนั่งดู Live Steaming ก็รู้สึกโอเคนะ ที่จะได้เห็น RAM ขนาด 3GB เพราะมันคงทำให้เครื่องประมวลเร็วหายห่วง …แต่พอเปิดหน้า RAM มาก็เท่านั้นแหละ ระบบด้านหลังเครื่องซัดไปเบาะๆ 1.38GB

Software

Galaxy-Note-3-JB

Galaxy Note 3 เป็นรุ่นแรกของซัมซุงที่จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.3 ก่อนที่จะผลัดใบเป็นรุ่น 4.4 ในเร็ววันนี้ ซึ่งผู้ใช้ Galaxy S4 ก็จะได้อัปเดทเป็นเวอร์ชัน 4.3 ในช่วงปลายปีนี้

คอนเซปต์หลักของ Galaxy Note 3 ยังคงเหมือนเดิมๆ คือ เป็นสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับสไตลัสที่เรียกว่า S Pen ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบ Gimmick ของ Note 3 ที่สามารถใช้งานกับปากกาได้อย่างดี

รอบนี้ Galaxy Note 3 ใส่ลูกเล่นให้กับ S Pen ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ผมค่อนข้างชอบ 5 ฟังก์ชันหลักที่อยู่ใน Air Command พอสมควร ไม่ว่าจะเป็น Action Memo, Scrap Booker, Screen Write, S Finder และ Pen Window

ผมอาจจะอ้างอิงจากไลฟ์สไตล์การใช้งานของตัวเอง สำหรับผมแล้วสิ่งที่ผมใช้ใน Air Command อยู่บ่อยๆ จะเป็น Action Memo กับ Scrap Booker

Galaxy-Note-3-Action-memo

ที่ผมชอบใน Action Memo เพราะว่า ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตผมค่อนข้างเจออะไรบ่อยๆ จึงติดนิสัยชอบการจดลงสมุดโน้ตประจำตัว ซึ่งเจ้า Action Memo มันมีทีเด็ดตรงที่ว่า ถ้าเราไปเห็นอะไรที่น่าสนใจปุ๊บ เขียนลงในกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ แล้วลิงก์ไปยัง Contact, โทรออก, อีเมล, เข้าเว็บไซต์, แชร์ Location รวมไปถึงเป็น To Do List

ScrapBook
Scrap Booker การใช้งานมีไว้แคปเจอร์คอนเทนต์ที่น่าสนใจ ไว้ใน Scrap Book ซึ่งถ้าแคปเจอร์พวกลิงก์ url เว็บไว้ก็จะเปิดอ่านได้ แต่ถ้าเป็นไฟล์วิดีโอใน YouTube เราก็สามารถที่จะใช้ Scrap Booker แคปเอาไว้แล้ว เปิดดูคลิปดังกล่าวผ่านแอป Scrap Book ได้เลย

Screen-Write

Screen Write เวลาที่ผมเจอสิ่งที่น่าสนใจ ก็ขีดเขียน, ครอปภาพ หรืออยากให้เน้นตรงไหนเป็นพิเศษก็ได้ จากนั้นแชร์ Screenshot ไปยังแอปพลิเคชันอะไรก็ได้ ที่เราต้องการ

Finder

S Finder ฟังก์ชันในการค้นหา everyting จิงเกอร์เบล์ในเครื่อง สามารถใช้คำสั่งด้วยเสียง (S Voice ในการค้นหาก็ได้)

Pen-Window

Pen Window ฟังก์ชันในการเรียกแอปพลิเคชัน Utilities ขึ้นมาเป็นหน้าจอเล็กๆ (Multitasking) อารมณ์เดียวกับที่เราใช้บนระบบปฏิบัติการ Windows

Multi-Window

นอกจากนี้แล้ว Multi Window เองก็มีการพัฒนาขึ้น รองรับแอปพลิเคชันได้เยอะขึ้น เปิดเบราว์เซอร์ก็สามารถเลือกแท็บได้ตามใจชอบ

Galaxy-Note-3-Magazine

Magazine ตัวนี้เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดย Flipboard แอปอ่านฟีดชื่อดัง การใช้งานจะใช้ในรูปแบบของ Gesture คือ ปัดที่ล่างจอขึ้นบนก็จะเข้าไปอ่านฟีดข่าวได้

S-Pen

Write-Thai

อันนี้เป็นการรีรันความสามารถจาก Galaxy Note 8.0 มาอีกทีนึง เราสามารถใช้ S Pen เขียนข้อความที่เป็นภาษาไทยได้แล้ว โดยระบบจะมีการประมวลคำว่า คำที่เขียนตรงกับภาษาไทยคำไหนบอก ซึ่งบอกกันตามตรงเลยว่า แม่นมากครับ

การถ่ายภาพ

Camera

Galaxy Note 3 มาพร้อมกับขนาดพิกเซลที่เยอะขึ้นจากเดิม Galaxy Note II ให้มาแค่ 8 ล้านพิกเซล แต่ Galaxy Note 3 อัปเพิ่มเป็น 13 ล้านพิกเซล รูปแบบการใช้งานใน Mode ต่างๆ ใครที่เคยใช้ Galaxy S4 มาก็คงคุ้น เพราะเป็นโหมดเดียวกัน

การถ่ายภาพ ผมว่า ไม่ต่างจาก Galaxy S4 สักเท่าไหร่ คือ ถ้าถ่ายในสภาวะแดดดีๆ หน่อย คุณภาพที่ออกมา ถือว่าค่อนข้างดี แต่ถ้าถ่ายในที่ๆ แสงน้อยตัวกล้องจะปรับโหมดเป็น HDR แล้วการประมวลผลภาพในสภาวะที่แสงน้อยการทำงานก็จะช้า

Camera-Mode

ส่วนฟังก์ชันโหมดกล้องเหมือน Galaxy S4 ครับ

เกือบลืมไป มีความน่าเสียดายอยู่อย่างหนึ่งที่ Galaxy Note 3 ยังไม่มี นั่นคือ OIS หรือป้องกันการสั่นไหว แต่คิดว่า ไลน์ผลิตสมาร์ทโฟนปีหน้า OIS คงเตรียมถูกบรรจุเข้าประจำการแน่นอน

ปัญหาเพิ่มเติมที่พบเจอขณะใช้งาน ?

  • เครื่องค้าง
  • สัญญาณ WiFi หลุดง่ายมาก
  • แอป Gallery ทำงานช้ามาก
  • (edited) แบตเตอรีหมดไว เมื่อเชื่อมต่อกับ Galaxy Gear ส่วนการใช้งานปกติ ถือว่าอึดกว่า Note II

บทสรุป

Galaxy-Note-3-Review-pic-6

ในความเห็นส่วนตัว คงต้องบอกว่า Galaxy Note 3 เป็นสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ ที่ค่อนข้างมีโจทย์การใช้งานค่อนข้างชัด กลุ่มผู้ใช้งานค่อนข้างชัดเจน หลักๆ คงเป็นกลุ่มศิลปิน ที่ต้องการสรรสร้างผลงานศิลปะในรูปแบบของดิจิทัล ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

ขณะเดียวกัน End User ทั่วไป ก็สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ของตัวเองได้ไม่ยากเช่นกัน ด้วยความที่หน้าจอขนาดใหญ่ ความละเอียดจอสูง การสร้างความบันเทิงด้วยตัวเองจึงกลายเป็นเรื่องที่ทำได้โดยง่าย

ส่วนปัญหาโลกแตก Exynos vs. Snapdragon นั้น จากการใช้งานมาผมไม่ได้รู้สึกว่า Exynos แย่กว่า Snapdragon หลักใหญ่ใจความผมว่า ปัญหาที่ซัมซุงควรไปตามล้างตามเช็ดเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์มากกว่าที่ทำออกมาแล้ว มีปัญหาจนน่ารำคาญใจ

ทั้งหมดนี้เป็นรีวิว Galaxy Note 3 บทความต่อไปจะเป็นคิว Galaxy Gear ครับ