Lazada

[PR] ผลการสำรวจปี 2556 ด้านเส้นทางสู่ระบบคลาวด์

02__เธ™เธฒเธขเน€เธ”เน€เธกเธตเธขเธ™ เธงเธญเธ‡ เน€เธฃเธ”เน€เธฎเธ”

ผลการสำรวจปี 2556 ด้านเส้นทางสู่ระบบคลาวด์ที่ขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ OpenStack ที่ประกาศโดยเรดแฮท อิงค์ (NYSE: RHT) ผู้ให้บริการโซลูชั่นโอเพ่นซอร์สชั้นนำของโลก ระบุว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่ได้สำรวจมาส่วนใหญ่กล่าวว่าซอฟต์แวร์ OpenStack เป็นส่วนหนึ่งในแผนการวางโครงสร้างพื้นฐานด้วยระบบคลาวด์ในอนาคตขององค์กรของพวกเขา

การสำรวจด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ OpenStack และระบบไพรเวทคลาวด์ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจขององค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา 200 รายที่เรดแฮทได้ทำการคัดเลือกผ่านทาง IDG Connect พบว่าองค์กรส่วนใหญ่ (51 เปอร์เซ็นต์) ได้มีการนำระบบไพรเวทคลาวด์มาใช้เป็นเวลาสองถึงสามปีแล้วโดยใช้โซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นเองภายในหรือข้อเสนอทางเลือกจากผู้จำหน่าย ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบไพรเวทคลาวด์ภายในนั้นมีความท้าทายมากมายที่องค์กรต้องรับมือ เช่น

  • การจัดการทรัพยากร (21 เปอร์เซ็นต์)
  • การจัดการลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีสารสนเทศ (18 เปอร์เซ็นต์)
  • การจัดการแอพพลิเคชั่น (18 เปอร์เซ็นต์)
  • การปรับใช้แอพพลิเคชั่น (18 เปอร์เซ็นต์)

เนื่องจากองค์กรต่างๆ ต้องหาวิธีการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ ผลการสำรวจจึงแสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังเปลี่ยนหรือมีแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ OpenStack เพื่อริเริ่มระบบไพรเวทคลาวด์ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าพวกเขากำลังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นของการนำซอฟต์แวร์ OpenStack ไปใช้และดำเนินการปรับใช้ ยังไม่เสร็จสิ้น หรือยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่กว่า 84 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าซอฟต์แวร์ OpenStack เป็นส่วนหนึ่งในแผนของระบบคลาวด์ในอนาคตของพวกเขา

ผู้ตอบแบบสำรวจยังระบุว่าประโยชน์ที่เด่นชัดที่ได้รับจาก OpenStack มีดังนี้ 73% เป็นเรื่องของความชัดเจนของการบริหารจัดการ; 72% เป็นด้านความเร็วในการปรับใช้งาน; 69% เป็นด้านความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์ม; 69% เป็นความคล่องตัวที่เหนือกว่าและ 67% เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งแตกต่างไปจากทางเลือกระบบไพรเวทคลาวด์อื่นๆ ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการนำซอฟต์แวร์ OpenStack มาใช้ประกอบด้วย ความแตกต่างด้านทักษะของพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 32% ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 23% คำถามเกี่ยวกับความพร้อมของโครงการซอฟต์แวร์ OpenStack 11%และจะใช้งานที่ใดคิดเป็น 10% ข้อมูลจากการสำรวจยังระบุเพิ่มเติมอีกว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจเชื่อว่าผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ OpenStack และผู้ให้บริการวางระบบแบบครบวงจรเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการแบ่งปันประสบการณ์ ช่วยอธิบายเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนและลดความแตกต่างด้านทักษะของพนักงานลง

นายเดเมียน วอง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคอาเซียน เรดแฮท กล่าวว่า “ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าได้เริ่มมีการนำซอฟต์แวร์ OpenStack เข้ามาใช้งานจริงอย่างรวดเร็วโดยองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมาก และสามารถนำไปใช้เป็นแกนหลักของโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์สำหรับระบบไพรเวทคลาวด์ที่ใช้งานได้จริง  ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้นำธุรกิจเข้าใจว่าซอฟต์แวร์ OpenStack สามารถทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ปรับปรุงความเร็ว ความยืดหยุ่น และความคล่องตัวของระบบไพรเวทคลาวด์ได้ เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบคลาวด์ที่ขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ OpenStack พวกเขาจึงหวังพึ่งผู้นำอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีซอฟต์แวร์ OpenStack สำหรับใช้ในองค์กร ที่มีอายุการใช้งานเป็นมาตรฐาน รวมถึงการฝึกอบรม การสนับสนุนและระบบนิเวศน์ทั่วไปของคู่ค้าและโซลูชั่นที่ได้รับการรับรองจาก OpenStack ที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของพวกเขาเป็นไปอย่างราบรื่น”

ชมกราฟิกที่เน้นถึงข้อมูลสำคัญของผลการสำรวจหนทางสู่ระบบคลาวด์ที่ขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ OpenStack ปี 2013 ได้ที่ http://bit.ly/PrivateCloudSurvey

ระเบียบวิธีและข้อมูลผู้ตอบแบบสำรวจ

IDG Connect จัดทำการสำรวจแบบออนไลน์ในนามของเรดแฮท เพื่อทำความเข้าใจถึงมุมมองที่มีต่อระบบไพรเวทคลาวด์และ OpenStack การสำรวจได้ทำการสอบถามบุคคล 200 รายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จากบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่  1,000 คนขึ้นไป ในประเทศสหรัฐอเมริกา 35% ของผู้ตอบแบบสำรวจมาจากองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 5,000 คน ผู้ตอบแบบสำรวจแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดที่สำคัญประกอบด้วยภาคการผลิต การบริการทางการเงิน การดูแลสุขภาพ/การดำเนินการเกี่ยวกับเภสัชกรรม การค้าปลีก และภาคเอกชน

ติดตามข่าวสารจากเรดแฮท

  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ เรดแฮทได้ที่ RedHat
  • รับข่าวสารอื่นๆของ เรดแฮท Red Hat news หรือสมัครฟีดข่าวจากเรดแฮท Red Hat news RSS feed
  • ติดตามเรดแฮทภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่านทวิตเตอร์ (Twitter)  Red Hat APAC on Twitter
  • เข้าร่วมเรดแฮทภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่านเฟสบุ๊ค (Facebook) Red Hat APAC on Facebook
  • ดูวิดีโอต่างๆ ของเรดแฮทบนยูทูป (YouTube) Red Hat videos on YouTube
  • เข้าร่วมใน RedHatonGoogle+