Lazada

Sony Xperia P

IMG_1492

Sony Xperia P (LT22i) หนึ่งในสมาร์ทโฟนจากตระกูล Xperia NXT series เปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการและมีวางขายเป็นที่เรียบร้อย สนนราคาค่าตัว 14,990 บาท รองรับกับเครือข่าย 3G ได้ทั้ง 3 ค่ายคือ 850/900/1900/2100 MHz เวลาจะซื้อก็ไม่ต้องปวดหัวเรื่องการรองรับ 3G แล้ว

Sony Xperia P มาพร้อมกับบระบบปฏิบัติการ Android 2.3.7 Gingerbread และจะสามารถอัพเกรดเป็น Android 4.0 Ice Cream Sandwich ได้ในภายหลัง (เมื่อโซนี่ปล่อยอัพเดทออกมา) ใช้อินเตอร์เฟส (User Interface) Timescape UI รองรับการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ผ่าน Timescape และ Facebook inside Xperia 2.0

เรื่องดีไซน์และการออกแบบจะเห็นได้ว่า Xperia P ก็จะเหมือนกับ Xperia NXT series รุ่นอื่นๆ มากถึงมากที่สุด มีรุ่นพี่อย่าง Xperia S และรุ่นน้อง Xperia U ที่หน้าตาคล้ายๆ กัน ต่างกันตรงที่ขนาดและความกว้างของหน้าจอ

Sony Xperia P จะเจาะตลาดสมาร์ทโฟนระดับกลาง ชนกับ Samsung Galaxy S Advance ที่ราคา 12,900 บาท ถึงแม้ราคาจะต่างกันหลายพันแต่ในช่วงราคา 12,000 – 15,000 บาท ก็มีไม่กี่รุ่นที่เป็นรุ่นใหม่และน่าสนใจ อีกตัวที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ Oppo Find 3 ตัวนี้ก็สนนราคา 12,900 บาท (รุ่นใหม่ที่พอจะนึกออกก็มีเท่านี้ ที่ราคาระดับนี้ที่เหลือก็เป้นรุ่นที่เปิดตัวทั้งแต่ปีที่แล้ว) ใครสนใจรุ่นไหนก็ลองแวะอ่านรีวิวดูนะครับ เว็บของเรามีรีวิวทั้ง 3 ตัวครบแล้ว ^^

สเปค Sony Xperia P

IMG_1525

Sony Xperia P มาพร้อมกับหน้าจอ LED-backlit LCD ขนาด 4 นิ้ว ความละเอียด 960 × 540 พิกเซล จอแสดงผลแบบ Reality Display with WhiteMagic Technology ให้ได้ภาพที่สดใสสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง และใช้พลังงานที่ต่ำ เพียงครึ่งหนึ่งของจอ LCD ทั่วไป และที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือเทคโนโลยี Sony Mobile BRAVIA Engine ที่กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของสมาร์ทโฟนจากโซนี่ไปแล้ว

ต้องยอมรับว่าหน้าจอของ Xperia P นั้นให้ความคมชัดและสวยงาม ส่วนตัวผมชอบหน้าจอของ Xperia P พอสมควร แต่ทว่าหน้าจอของ Xperia P นั้นจะออกโทนสีเหลืองซะเยอะ (จอเหลืองนั้นเอง) จะเห็นชัดเวลาเปิดเว็บไซต์หรืออะไรที่เป็นสีขาว เช่นตัวหนังสือ หรือพื้นหลังสีขาว

IMG_1571

ลองวางเปรียบเทียบกับ iPhone 4 (ซ้ายมือ) และ Nexus S (ขวามือ) สำหรับ Xperia S จะอยู่ตรงกลางจะเห็นได้ชัดเจนว่าหน้าจอของ Xperia P นั้นออกเหลืองกว่า iPhone 4 และ Nexus S ซึ่งในภาพนี้ทั้ง 3 รุ่นเปิดความสว่างสูงสุด ส่วน Xperia P ผมเปิด BRAVIA Engine ไว้ด้วย

IMG_1559

ลองวางเทียบกับแท็บเล็ตแอนดรอยด์รุ่นนึง เปิดความสว่างสูงสุดเช่นเดียวกัน

ส่วนตัวผมคิดว่าจอของ Xperia P ไม่ได้เหลืองจนน่าเกลียดอะไรมาก อย่างในภาพตัวอย่าที่ผมถ่ายมาสีเพี้ยนนิดหน่อย ทั้ง iPhone, Nexus S, Xperia P และแท็บเล็ต การใช้งานจริงๆ ผมว่าก็ไม่ถึงกับไม่น่าใช้งานนะครับ หากใครสนใจรุ่นนี้อยู่ ก็ลองแวะดูเครื่องจริงก่อนค่อยซื้อครับ ผมว่าบางคนรับไม่ได้กับจอเหลือง หรือบางคนก็เฉยๆ แล้วแต่คนชอบครับผม

[accordion title=”สำรวจตัวเครื่อง”]

IMG_1530

หน้าจอ LED-backlit LCD ขนาด 4 นิ้ว 275 ppi หน้าจอป้องกันรอยขีดข่วน (Scratch-resistant)

IMG_1541

ด้านบนของหน้าจอจะมีกล้องหน้าความละเอียด VGA รองรับการใช้งาน Video Calling มีเซ็นเซอร์ Proximity sensor (ปิดหน้าจอแบบอัตโนมัติขณะสนทนา) ตรงมุมซ้ายของลำโพงสนทนาจะ LED Notification

IMG_1542

ปุ่มควบคุมแบบสัมผัส (Touch-sensitive controls)

IMG_1573 IMG_1575

LED Notification / ไฟปุ่มควบคุม

IMG_1537

ด้านขวาของตัวเครื่องมีปุ่มซัตเตอร์สำหรับถ่ายรูป และเข้าสู่โหมดกล้องได้ผ่านปุ่มนี้ ถัดไปเป็นปุ่มเพิ่มและลดเสียง ถัดไปเป็นปุ่มสำหรับเปิด/ปิดเครื่อง และสามารถบันทึกภาพหน้าจอผ่านปุ่มนี้ (เวลากดจะมีเมนูขึ้นมา) บนสุดเป็นลำโพงของตัวเครื่อง ส่วนเรื่องงานประกอบของตัวนี้หายตัวครับ เรื่องงานประกอบและวัสดุผมว่าค่ายโซนี่ไม่เคยทำให้ผิดหวัง

IMG_1538

ด้านซ้ายมีช่องต่อ micro-USB 2.0 และช่องต่อ micro HDMI ถัดลงมาเป็นช่องสำหรับใส่ Micro SIM ซึ่งจะมีฝาปิดอยู่

IMG_1550

ฝาปิดด้านล่างสามารถถอดออกได้

IMG_1543 IMG_1544

ด้านล่างของตัวเครื่อง และด้านบนของตัวเครื่อง

IMG_1547

ด้านหลังของ Xperia P จะเป็นอลูมิเนียมผิวเรียบมันนิดๆ ดูคล้ายพลาสติก (ตอนแรกผมก็คิดว่าเป็นพลาสติก) และไม่สามารถแกะฝาหลังได้ ถอดแบตไม่ได้ เพิ่ม Micro SD Card ไม่ได้ แต่รุ่นนี้มี NFC (Near Field Communication) มาให้ด้วย อยู่ถัดจากกล้องลงมา

[/accordion][accordion title=”ระบบปฏิบัติการและซอฟท์แวร์”]

device-2555-06-04-213216

Sony Xperia P มาพร้อมกับบระบบปฏิบัติการ Android 2.3.7 Gingerbread และจะสามารถอัพเกรดเป็น Android 4.0 Ice Cream Sandwich ได้ในภายหลัง (เมื่อโซนี่ปล่อยอัพเดทออกมา) ใช้อินเตอร์เฟส (User Interface) Timescape UI รองรับการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ผ่าน Timescape และ Facebook inside Xperia 2.0

device-2555-06-04-210038 device-2555-06-04-210002 device-2555-06-04-210026 device-2555-06-04-210034

อินเตอร์เฟส Timescape U

device-2555-06-04-213234

ระบบเสียง xLOUD 3D surround

device-2555-06-04-213250 device-2555-06-04-213257

จอแสดงผลด้วยเทคโนโลยี Reality Display with WhiteMagic ให้ได้ภาพที่สดใสสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง และใช้พลังงานที่ต่ำ เพียงครึ่งหนึ่งของจอ LCD ทั่วไป และเทคโนโลยี Sony Mobile BRAVIA Engine

screenshot_2012-05-28_2243 screenshot_2012-05-28_2243_1

เท่าที่ลองใช้งาน Xperia P มาได้สักระยะเรื่องแบตเตอรี่ไม่ถือว่าอึด แต่ก็ไม่ได้หมดเร็วผิดปกติ ที่ข้อดีอย่างหนึ่งคือ ชาร์จแบตเต็มเร็วมาก (มีฟังก์ชั่นชาร์จแบตเร็ว) เร็วๆ พอๆ กับระยะเวลาชาร์จของ iPhone เลย

screenshot_2012-06-01_0103

อินเตอร์เฟสกล้อง

screenshot_2012-06-01_0103_2

อินเตอร์เฟสกล้องวีดีโอ

[/accordion][accordion title=”ทดสอบประสิทธิภาพ”]

screenshot_2012-05-28_1349 screenshot_2012-05-28_2221

รองรับ Multitouch 10 จุด แต่เป็น Multitouch แท้แค่ 8 จุด

screenshot_2012-05-28_1344 device-2555-06-04-210706

ทดสอบด้วย Quadrant Standard ได้คะแนน 2153 คะแนน และทดสอบด้วย AnTuTu Benchmark ได้คะแนน 5196

device-2555-06-04-210903 device-2555-06-04-211505

ทดสอบด้วย Neocore ได้คะแนน 50.4 FPS

[/accordion][accordion title=”กล้องและวีดีโอ”]

ตัวอย่างภาพถ่าย

DSC_0180 DSC_0124

ตัวอย่างภาพถ่ายที่เปิดแฟลช

DSC_0184 DSC_0185

ภาพซ้ายเปิดแฟลช ภาพขวาปิดแฟลช

DSC_0113 DSC_0108

ตัวอย่างภาพถ่ายตัวกลางคืนในสภาพที่มีแสดงเพียงพอ (ปิดแฟลช)

DSC_0197 DSC_0200 DSC_0201
DSC_0004 DSC_0153 DSC_0099

ภาพถ่ายตอนกลางวัน

DSC_0195

ภาพถ่ายพาโนราม่า

ตัวอย่างวีดีโอ

[/accordion]

ข้อดี

  • หน้าจอสวย และคมชัด
  • หน้าจอแสดงผลด้วยเทคโนโลยี Sony Mobile BRAVIA Engine และ WhiteMagic
  • กล้องถ่ายรูปออกมาสวย
  • ถ่ายภาพวิดีโอแบบ Full HD 1080p
  • ตัวเครื่องทำด้วยอัลลูมิเนียม มีความแข็งแรงทนทาน
  • รองรับ 3G ทุกค่าย ทั้ง 850, 900, 2100
  • มีช่องต่อ micro HDMI
  • รองรับระบบดาวเทียม GLONASS
  • มี NFC (Near Field Communication)

ข้อสังเกต

  • ถ้ามากับ Android 4.0 Ice Cream Sandwich จะแจ่มมาก
  • ถอดแบตเตอรี่ไม่ได้
  • ต้องใช้ Micro SIM เท่านั้น
  • เพิ่ม Micro SD Card ไม่ได้
  • ฝาด้านล่าง ถ้าถอดบ่อยๆ มันจะหลวมและอาจจะหลุดได้ง่าย